26 July 2013
ต้นไม้ในพุทธกาล
ต้นไม้ในพุทธกาล
1 พระตัณหังกรพุทธเจ้า (ผู้กล้าหาญ) ต้นตีนเป็ดขาว (ต้นสัตตบรรณ)
2 พระเมธังกรพุทธเจ้า (ผู้มียศใหญ่) ต้นทองกวาว (ต้นกิงสุกะ)
3 พระสรณังกรพุทธเจ้า (ผู้เกื้อกูลแก่ชาวโลก) ต้นแคฝอย (ต้นปาตลี)
4 พระทีปังกรพุทธเจ้า (ผู้ทรงไว้ซึ่งปัญญาอันรุ่งเรือง) ต้นเลียบ (ต้นปิปผลิ)
5 พระโกณฑัญญพุทธเจ้า (ผู้เป็นประมุขแห่งหมู่ชน) ต้นสาละใหญ่ (ต้นมหาสาละ)
6 พระมังคลพุทธเจ้า (ผู้เป็นบุรุษประเสริฐ) ต้นกากะทิง (ต้นนาคะ)
7 พระสุมนพุทธเจ้า (ผู้เป็นวีรบุรุษมีพระหฤทัยงาม) ต้นกากะทิง (ต้นนาคะ)
8 พระเรวตพุทธเจ้า (ผู้เพิ่มพูนความยินดี) ต้นกากะทิง (ต้นนาคะ)
9 พระโสภิตพุทธเจ้า (ผู้สมบูรณ์ด้วยพระคุณ) ต้นกากะทิง (ต้นนาคะ)
10 พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า (ผู้สูงสุดในหมู่ชน) ต้นกุ่ม (ต้นกักกุธะ)
11 พระปทุมพุทธเจ้า (ผู้ทำให้โลกสว่าง) ต้นอ้อยช้างใหญ่ (ต้นมหาโสณกะ)
12 พระนารทพุทธเจ้า (ผู้เป็นสารภีประเสริฐ) ต้นอ้อยช้างใหญ่ (ต้นมหาโสณกะ)
13 พระปทุมุตรพุทธเจ้า (ผู้เป็นที่พึ่งของหมู่สัตว์) ต้นสน (ต้นสลฬะ)
14 พระสุเมธพุทธเจ้า (ผู้หาบุคคลเปรียบมิได้) ต้นสะเดา (ต้นนิมพะ)
15 พระสุชาตพุทธเจ้า (ผู้เลิศกว่าสัตว์โลกทั้งปวง) ต้นไผ่ใหญ่ (ต้นมหาเวฬุ)
16 พระปิยทัสสีพุทธเจ้า (ผู้ประเสริฐกว่าหมู่นรชน) ต้นกุ่ม (ต้นกักกุธะ)
17 พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า (ผู้มีพระกรุณา) ต้นจำปาป่า (ต้นจัมปกะ)
18 พระธัมมทัสสีพุทธเจ้า (ผู้บรรเทาความมืด) ต้นมะพลับ (ต้นพิมพชาละ)
19 พระสิทธัตถพุทธเจ้า (ผู้หาบุคคลเสมอมิได้ในโลก)ต้นกรรณิการ์ (ต้นกณิการระ)
20 พระติสสพุทธเจ้า (ผู้ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย) ต้นประดู่ลาย (ต้นอสนะ)
21 พระปุสสพุทธเจ้า (ผู้ประทานธรรมอันประเสริฐ) ต้นมะขามป้อม (ต้นอามัณฑะ)
22 พระวิปัสสีพุทธเจ้า (ผู้หาที่เปรียบมิได้) ต้นแคฝอย (ต้นปาตลี)
23 พระสิขีพุทธเจ้า (ผู้เป็นศาสดาเกื้อกูลแก่สรรพสัตว์) ต้นกุ่ม (ต้นกักกุธะ)
24 พระเวสสภูพุทธเจ้า (ผู้ประทานความสุข)ู ต้นอ้อยช้างใหญ่ (ต้นมหาโสณกะ)
25 พระกุกกุสันธพุทธเจ้า (ผู้นำสัตว์ออกจากกันดารตัวกิเลส) ต้นซึก (ต้นสิรีสะ)
26 พระโกนาคมนพุทธเจ้า (ผู้หักเสียซึ่งข้าศึกคือกิเลส) ต้นมะเดื่อ (ต้นอุทุมพร)
27 พระกัสสปพุทธเจ้า (ผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ) ต้นไทรหรือกร่าง (ต้นนิโครธ)
28 พระโคตมพุทธเจ้า (ผู้ประเสริฐแห่งหมู่ศากยราช) ต้นโพธิ์ (ต้นอัสสัตถะ)
29 ต้นงิ้ว วิมานฉิมพลีของนางกากี
30 ดอกเข้าพรรษา งามสง่าในลีลา ‘หงส์เหิน’
31 มณฑา ดอกไม้ทิพย์แห่งสวรรค์
32 บุนนาค สวยทั้งใบ หอมชื่นใจทั้งดอก
33 ตะเคียนที่สิงสถิตของนางไม้
34 สายหยุด หยุดกลิ่นฟุ้งยามสาย
35 กัลปพฤกษ์ ต้นไม้สารพัดนึก
36 กระทุ่ม ต้นไม้ประจำอมรโคยานทวีป ในมนุสสภูมิ
37 คัดเค้า บานทั้งเช้า บานทั้งเย็น
38 ปาริชาต ต้นไม้สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
39 ต้นจิก ไม้พญานาค
40 อโศก ตำนานรักของกามนิต
41 กล้วยรุ่งอรุณ สีสันสดใส...แค่เรื่องกล้วยๆ
42 กล้วยดอกบัวทอง ดอกไม้ศักดิ์สิทธิ์แห่งยูนนาน
43 ส้มมือ หรืออีกชื่อ ‘ส้มนิ้วพระหัตถ์’
44 กิน ‘สมอ’ ดีเสมอ
45 พุทธรักษา ดอกงาม นามมงคล
46 กำยาน “ความหอมอมตะ”
47 ตาล ที่มาของตาลปัตร
48 มะม่วงไม่รู้หาวมะนาวไม่รู้โห่ คือ หนามแดง
www.dhammajak.net
13 July 2013
08 July 2013
การนั่งสมาธิเบื้องต้น
การนั่งสมาธิเบื้องต้น
การฝึกสมาธิ/ Meditation.
สมาธิ คือ ความสงบ สบาย และความรู้สึกเป็นสุขอย่างยิ่งที่มนุษย์สามารถสร้างขึ้นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่พระพุทธศาสนากำหนดเอาไว้เป็นข้อควรปฏิบัติ เพื่อการดำรงชีวิตประจำวันอย่างเป็นสุข ไม่ประมาท เต็มไปด้วยสติสัมปชัญญะ และปัญญา อันเป็นเรื่องไม่เหลือวิสัย ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ง่ายๆ ดังวิธีปฏิบัติที่พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้เมตตาสั่งสอนไว้ดังนี้
1.กราบบูชาพระรัตนตรัย เป็นการเตรียมตัวเตรียมใจให้นุ่มนวลไว้เป็นเบื้องต้น แล้วสมาทานศีลห้า หรือศีลแปด เพื่อย้ำความมั่นคงในคุณธรรมของตนเอง
2.คุกเข่าหรือนั่งพับเพียบสบายๆ ระลึกถึงความดีที่ได้กระทำไว้ดีแล้วในวันนี้ ในอดีต และที่จะตั้งใจทำต่อไปในอนาคต จนราวกับว่า ร่างกายทั้งหมดประกอบขึ้น ด้วยธาตุแห่งคุณงามความดีล้วนๆ
3.นั่งขัดสมาธิ เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย นิ้วชี้ของมือข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย นั่งให้อยู่ในท่าที่พอดี ไม่ฝืนร่างกายมากจนเกินไป ไม่ถึงกับเกร็ง แต่อย่าให้หลังโค้งงอ หลับตาพอสบายคล้ายกับกำลังพักผ่อน ไม่บีบกล้ามเนื้อตาหรือขมวดคิ้ว แล้วตั้งใจมั่น วางอารมณ์สบาย สร้างความรู้สึกให้พร้อมทั้งกายและใจว่า กำลังเข้าไปสู่สภาวะแห่งความสงบ สบายอย่างยิ่ง
4.นึกกำหนดนิมิต เป็น ดวงกลมใส ขนาดเท่าแก้วตาดำ ใสบริสุทธิ์ ปราศจากรอยตำหนิใดๆ ขาวใส เย็นตา เย็นใจ ดังประกายของดวงดาว ดวงแก้วกลมใสนี้เรียกว่า บริกรรมนิมิต นึกสบายๆ นึกเหมือนดวงแก้วนั้นมานิ่งสนิทอยู่ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ด นึกไปภาวนาไปอย่างนุ่มนวล เป็นพุทธานุสติว่า สัมมาอะระหัง หรือค่อยๆน้อมนึกดวงแก้วกลมใสให้ค่อยๆเคลื่อนเข้าสู่ศูนย์กลางกายตามแนวฐาน โดยเริ่มต้นตั้งแต่ฐานที่หนึ่งเป็นต้นไป น้อมนึกอย่างสบายๆ ใจเย็นๆ ไปพร้อมๆกับคำภาวนา
อนึ่ง เมื่อนิมิตดวงกลมใสปรากฏแล้ว ณ กลางกาย ให้วางอารมณ์สบายๆกับนิมิตนั้น จนเหมือนกับว่าดวงนิมิตเป็นส่วนหนึ่งของอารมณ์ หากดวงนิมิตนั้นอันตรธานหายไป ก็ไม่ต้องนึกเสียดาย ให้วางอารมณ์สบาย แล้วนึกนิมิตนั้นขึ้นมาใหม่แทนดวงเก่า หรือเมื่อนิมิตนั้นปรากฏที่อื่นที่ไม่ใช่ศูนย์กลางกาย ให้ค่อยๆน้อมนิมิตเข้ามาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่มีการบังคับ และเมื่อนิมิตมาหยุดสนิท ณ ศูนย์กลางกาย ให้วางสติลงไปยังจุดศูนย์กลางของดวงนิมิต ด้วยความรู้สึกคล้ายมีดวงดาวดวงเล็กๆอีกดวงหนึ่ง ซ้อนอยู่ตรงกลางดวงนิมิตดวงเดิม...
แล้วสนใจเอาใจใส่แต่ดวงเล็กๆตรงกลางนั้นไปเรื่อยๆ ใจจะปรับจนหยุดได้ถูกส่วน เกิดการตกศูนย์และเกิดดวงสว่างขึ้นมาแทนที่ ดวงนี้เรียกว่า ดวงธรรม หรือ ดวงปฐมมรรค อันเป็นประตูเบื้องต้นที่จะเปิดไปสู่หนทางแห่งมรรคผลนิพพาน การระลึกนึกถึงนิมิตสามารถทำได้ในทุกแห่งทุกที่ทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะนั่ง นอน ยืน เดิน หรือขณะทำภารกิจใดๆ
The
initial meditate.
Respectfully
worship the Triple Buddha.
Kneel
or squat comfortably. Commemorate the great deeds of the past, and then today
it intends to do in the future, as well as body composition. With the element
of pure goodness.
Squat.
Right foot over left foot. Right hand over the left hand. Index finger of the
right hand thumb stretch to his left. Not a contraction. But do not make the
bend. The eyes are similar to the rest room. Do not squeeze or frown muscles. I
firmly intend. A pleasant mood. To create a sense of both body and mind. Are
entered into a state of calm. Comfort.
Imagine
the vision of transparent globes the size of a corneal defect-free pure black
or white, as cold hearted cool glow of the stars. Round clear vision one is called I thought I loved the comfort
of the body still remain at the center of the seventh. I pray to go to tender.
Puttha a consciousness that I gained during Pahang or gradually bent crystal
ball to imagine a loved one slowly moving towards the center line of the body.
Starting from the base on. I bow casual cool along with prayer.
Incidentally,
on a clear vision globes appeared at the center of a cozy place with the
vision. It's as if the vision is part of the emotion. If the vision disappears.
I do not have to imagine. Keep the mood relaxed. I think the vision is to
replace the old. Or when the vision appeared other than the central facility.
Gradually came to welcome the vision gradually.
And when the vision came to a complete stop at the center of the
consciousness into the center of my vision. Feeling like a tiny star on the
moon. Piled in the middle of the vision of the original ...
I
do care, but the middle is so small. I was fine until the stop. The fall and
the center lights up the place. It is called the Dhamma, or the initial primary
Samak as doors that will open the path to nirvana , Vision can be done anywhere
in the remembrance every posture, whether sitting, standing, walking or
sleeping while doing other tasks.
Recommendations in meditation.
ข้อแนะนำในการนั่งสมาธิ
ข้อแนะนำ คือ ต้องทำให้สม่ำเสมอเป็นประจำ ทำเรื่อยๆ ทำอย่างสบายๆ ไม่เร่ง ไม่บังคับ ทำได้แค่ไหนให้พอใจแค่นั้น ซึ่งจะเป็นการป้องกันมิให้เกิดความอยากจนเกินไป จนถึงกับทำให้ใจต้องสูญเสียความเป็นกลาง และเมื่อการฝึกสมาธิบังเกิดผลจนได้ดวงปฐมมรรค ที่ใสเกินใส สวยเกินสวย ติดสนิทมั่นคงที่ศูนย์กลางกายแล้ว ให้หมั่นตรึกระลึกถึงอยู่เสมอ
Recommendations is the need to do so on a regular basis, do not ease up, do not force it just to satisfy just that. This will prevent cravings too. Makes up for the loss of neutrality. Meditation and fruit until the beginning of the Makka put over it pretty clear over the center of the body close to the stable. Always remember always deliberate.
อย่างนี้แล้ว ผลแห่งสมาธิจะทำให้ชีวิตดำรงอยู่บนเส้นทางแห่งความสุข ความสำเร็จ และความไม่ประมาทตลอดไป ทั้งยังจะทำให้สมาธิละเอียดลุ่มลึกไปตามลำดับอีกด้วย
เทคนิคเบื้องต้นในการนั่งสมาธิ
This, the concentration of the existence of life on the path of success and happiness, do not underestimate forever. It will concentrate more depth in the order as well.
Techniques in meditation.
1. หลับตาเบาๆ ผนังตาปิด 90%
Close your eyes gently closed eye wall 90%.
2. อย่าบังคับใจ เพียงตั้งสติ วางใจเบาๆ ณ ศูนย์กลางกาย กำหนดนิมิตเป็น...
Do not force a conscious trust is a light at the center of the vision of ..
ดวงแก้วใสๆ...เบาๆ
The ... crystal ball the clear light.
องค์พระใสๆ...เบาๆ
Phra clear ... gently.
ลมหายใจ เข้า-ออก...เบาๆ
อาการท้อง พอง-ยุบ...เบาๆ
เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง Breath - the ... gently.
Abdominal rising - falling ... gently.
Only one.
Abdominal rising - falling ... gently.
Only one.
3. กำหนดนิมิต นึกนิมิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นกุศโลบายล่อใจให้เข้ามาตั้งมั่นในกาย
It defined vision, vision continuously. A tempting strategy to stand in the body
4. เมื่อใจเข้ามาหยุดนิ่งในกาย การกำหนดนิมิตก็หยุดโดยอัตโนมัติ
When it came to a standstill in the body The vision stopped automatically.
5. รับรู้การเปลี่ยนแปลงภายในกายและจิตใจ ด้วยความสงบ
Recognize changes in the body and mental peace.
6. อยู่ในความดูแลของกัลยาณมิตรอย่างใกล้ชิด
In the care of a Kalyanamitra closely.
หลักการฝึกสมาธิ (การนั่งสมาธิ)
Concepts of meditation. (Meditation).
1. น้อมใจมาเก็บไว้ ณ ศูนย์กลางกาย แต่ละครั้งเก็บใจไว้ให้นานที่สุด จนกระทั่งกลายเป็นนิสัยมีใจตั้งมั่นภายใน
2. มีสติกำกับใจตลอดเวลา ทำให้ระลึกรู้ตัวอยู่เสมอ ไม่ยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส สัมผัส รู้ธรรมารมณ์ใดๆ (เช่น ในคำสรรเสริญ เยินยอ ยศศักดิ์ ชื่อเสียง ฯลฯ)
3. ตั้งใจฝึกสมาธิอย่างสม่ำเสมอ และตรงเวลาเป็นประจำ
4. มีอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถจริง คอยควบคุม ให้คำแนะนำ อย่างใกล้ชิด
I keep a bow at the center each time I keep them as long as possible. Until it becomes a habit is entrenched within
The conscious mind all the time. Remembering always aware. Unmoved in time to see hear smell taste touch Trrmarmns any knowledge (as in the famous eulogy rank, etc.).
I practice meditation regularly. Regularly and on time.
I actually have the ability to control the instructions closely......
ประโยชน์ของการนั่งสมาธิ
1. การนั่งสมาธิผลต่อตนเอง คือ
1.1 ด้านสุขภาพจิต
- ส่งเสริมให้คุณภาพของใจดีขึ้น คือ ทำจิตใจ ผ่องใส สะอาด บริสุทธิ์ สงบ เยือกเย็น ปลอดโปร่ง โล่ง เบา สบาย
มีความจำ และ สติ ปัญญาดีขึ้น
- ส่งเสริมสมรรถภาพทางใจ ทำอะไรคิดอะไรได้รวดเร็ว ถูกต้อง เลือกคิดแต่ในสิ่งที่ดีเท่านั้น
1.2 ด้านพัฒนาบุคลิกภาพ
- จะเป็นผู้มีบุคลิกภาพดี กระฉับกระเฉง กระปรี้กระเปร่า มีความองอาจสง่าผ่าเผย มีผิวพรรณผ่องใส
- มีความมั่นคงทางอารมณ์ หนักแน่น เยือกเย็นและเชื่อมั่นในตนเอง
- มีมนุษยสัมพันธ์ดี วางตัวได้เหมาะสมกับเทศกาลเทศะเป็นผู้มีเสน่ห์ เพราะไม่มักโกรธ มีความเมตตากรุณาต่อบุคคลทั่วไป
1.3 ด้านชีวิตประจำวัน
- ช่วยให้คลายเครียด เป็นเครื่องเสริมประสิทธิภาพในการทำงานและการศึกษาเล่าเรียน
- ช่วยเสริมให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง เพราะร่างกายกับจิตใจย่อมมีอิทธิพลต่อกัน ถ้าจิตใจเข้มแข็ง ย่อมเป็นภูมิต้านทานโรคไปในตัว
1.4 ด้านศีลธรรมจรรยา
- ย่อมเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ เชื่อกฎแห่งกรรม สามารถคุ้มครองตนให้พ้นจากความชั่วทั้งหลายได้ เป็นผู้มีความประพฤติดี เนื่องจากจิตใจดี ทำให้ความประพฤติทางกายและวาจาดีตามไปด้วย
- ย่อมเป็นผู้มีความมักน้อย สันโดษ รักสงบและมีขันติเป็นเลิศ
- ย่อมเป็นผู้มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว ย่อมเป็นผู้มีสัมมาคารวะและมีความอ่อนน้อมถ่อมตน
2. ผลต่อครอบครัว
2.1 ทำให้ครอบครัวมีความสงบสุข เพราะสมาชิกในครอบครัวเห็นประโยชน์ของการประพฤติธรรม ทุกคนตั้งมั่นอยู่ในศีล ปกครองกันด้วยธรรม เด็กเคารพผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่เมตตาเด็ก ทุกคนมีความรักใคร่สามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
2.2 ทำให้ครอบครัวมีความเจริญก้าวหน้า เพราะสมาชิกต่างก็ทำหน้าที่ของตนโดยไม่บกพร่อง เป็นผู้มีใจคอหนักแน่น เมื่อมีปัญหาครอบครัวหรือมีอุปสรรคอันใด ย่อมร่วมใจกันแก้ไขปัญหานั้นๆ ให้ลุล่วงไปได้
3. การนั่งสมาธิผลต่อสังคมและประเทศชาติ คือ
3.1 ทำให้สังคมสงบสุข ปราศจากปัญหาอาชญากรรมและปัญหาสังคมสังคมอื่นๆ เพราะปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นในสังคมไม่ว่าจะเป็นปัญหาการฆ่า การข่มขืน โจรผู้ร้าย การทุจริตคอรัปชั่น ล้วนเกิดขึ้นมาจากคนที่ขาดคุณธรรม เป็นผู้มีจิตใจอ่อนแอ หวั่นไหวต่ออำนาจสิ่งยั่วยวน หรือกิเลสได้ง่าย ผู้ที่ฝึกสมาธิย่อมมีจิตใจที่เข้มแข็ง มีคุณธรรมในใจสูง ถ้าแต่ละคนในสังคมต่างฝึกฝนอบรมใจของตนให้หนักแน่น มั่นคง ปัญหาเหล่านี้ก็จะไม่เกิดขึ้น ส่งผลให้สังคมสงบสุขได้
3.2 ทำให้เกิดควมมีระเบียบวินัย และเกิดความประหยัด ผู้ที่ฝึกใจให้ดีงามด้วยการทำสมาธิอยู่เสมอ ย่อมเป็นผู้รักมีระเบียบวินัย รักความสะอาด มีความเคารพกฎหมายของบ้านเมือง ดังนั้นบ้านเมืองเราก็จะสะอาดน่าอยู่ ไม่มีคนมักง่ายทิ้งขยะลงบนพื้นถนน จะข้ามถนน ก็เฉพาะตรงทางข้าม เป็นต้น เป็นเหตุให้ประเทศชาติไม่สิ้นเปลืองงบประมาณ เวลาและกำลังเจ้าหน้าที่ ที่ต้องใช้ไปในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากความไม่มีระเบียบวินัยของประชาชน
3.3 ทำให้สังคมเจริญก้าวหน้า เมื่อสมาชิกในสังคมมีสุขภาพจิตดีรักความเจริญก้าวหน้า มีประสิทธิภาพ ในการทำงานสูง ย่อมส่งผลให้สังคมเจริญก้าวหน้าตามไปด้วย และเมื่อมีกิจกรรมของส่วนรวม สมาชิกในสังคมก็ย่อมพร้อมที่จะสละความสุขส่วนตน ให้ความร่วมมือกับส่วนรวมอย่างเต็มที่ แม้มีผู้ไม่ประสงค์ดีต่อสังคมมายุแหย่ให้เกิดความแตกแยก ก็จะไม่เป็นผลสำเร็จ เพราะสมาชิกในสังคมเป็นผู้มีจิตใจหนักแน่น มีเหตุผล และเป็นผู้รักสงบ
4. การนั่งสมาธิผลต่อศาสนา คือ
4.1 ทำให้เข้าใจพระพุทธศาสนาได้อยางถูกต้องและรู้ซึ้งถึงคุณค่าของพระพุทธศาสนา รวมทั้งรู้เห็นด้วยตัวเองว่าการฝึกสมาธิไม่ใช่เรื่องเหลวไหลหากแต่เป็นวิธีเดียวที่จะทำให้พ้น ทุกข์เข้าสู่นิพพานได้
4.2 ทำให้เกิดศรัทธาตั้งมั่นในพระรัตนตรัย พร้อมที่จะเป็นทนายแก้ต่างให้กับพระศาสนา อันจะเป็นกำลังสำคัญในการเผยแพร่การปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง ให้แพร่หลายไปอย่างกว้างขวาง
4.3 เป็นการสืบอายุพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองตลอดไป เพราะตราบใดที่พุทธศาสนิกชน ยังตั้งใจปฏิบัติธรรม เจริญภาวนาอยู่ พระพุทธศาสนาก็จะเจริญรุ่งเรืองอยู่ตราบนั้น
4.4 จะเป็นกำลังส่งเสริมทะนุบำรุงศาสนา เพราะเมื่อเข้าใจซาบซึ้งถึงประโยชน์ของการปฏิบัติธรรมด้วยตนเองแล้ว ย่อมจะชักชวนผู้อื่นให้ทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนาตามไปด้วย เมื่อใดที่ทุกคนในสังคมตั้งใจปฏิบัติธรรม ทำทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา เมื่อนั้นย่อมหวังได้ว่าสันติสุขที่แท้จริงจะบังเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
ข้อควรระวังในการนั่งสมาธิ
1. อย่าใช้กำลัง คือ ไม่ใช้กำลังใดๆทั้งสิ้น เช่น ไม่บีบกล้ามเนื้อตา เพื่อจะให้เห็นนิมิตเร็วๆ ไม่เกร็งแขน ไม่เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง ไม่เกร็งตัว ฯลฯ เพราะการใช้กำลังตรงส่วนใดของร่างการก็ตาม จะทำให้จิตเคลื่อนจากศูนย์กลางกายไปสู่จุดนั้น
2. อย่าอยากเห็น คือ ทำใจให้เป็นกลาง ประคองสติมิให้เผลอจากบริกรรมภาวนา และบริกรรมนิมิต ส่วนจะเห็นนิมิตเมื่อใดนั้น อย่ากังวล ถ้าถึงเวลาแล้วย่อมเห็นเอง การบังเกิดของดวงนิมิตนั้น อุปมาเสมือนการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ เราไม่อาจจะเร่งเวลาได้
3. อย่ากังวลถึงการกำหนดลมหายใจเข้าออก เพราะการฝึกสมาธิเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกายภายใน อาศัยการนึกถึง อาโลกกสิณ คือ กสิณความสว่าง เป็นบาทเบื้องต้น
4. เมื่อเลิกจากนั่งสมาธิแล้ว ให้ตั้งใจไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ดที่เดียว ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม เช่น ยืน เดิน นอน หรือนั่ง อย่าย้ายฐานที่ตั้งจิตไปไว้ที่อื่นเป็นอันขาด ให้ตั้งใจบริกรรมภาวนา พร้อมกับนึกถึงบริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้วใส หรือองค์พระแก้วใส ควบคู่กันไปตลอด
5. นิมิตต่างๆที่เกิดขึ้น จะต้องน้อมไปตั้งไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ดทั้งหมด ถ้านิมิตเกิดขึ้นแล้วหายไป ก็ไม่ต้องตามหา ให้ภาวนาประคองใจต่อไปตามปกติ ในที่สุดเมื่อจิตสงบ นิมิตย่อมปรากฏขึ้นมาใหม่อีก
การฝึกสมาธิเบื้องต้น (การนั่งสมาธิ) เท่าที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ย่อมเป็นปัจจัยให้เกิดความสุขได้พอสมควร เมื่อซักซ้อมปฏิบัติอยู่เสมอๆไม่ทอดทิ้ง จนได้ดวงปฐมมรรคแล้ว ก็ให้หมั่นประครองรักษาดวงปฐมมรรคนั้นไว้ตลอดชีวิต ดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดี ย่อมเป็นหลักประกันได้ว่า ได้ที่พึ่งของชีวิตที่ถูกต้องดีงาม ที่จะส่งผลให้เป็นผู้มีความสุขความเจริญ ทั้งในภพชาตินี้และภพชาติหน้า เด็กเคารพผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่เมตตาเด็ก ทุกคนมีความรักใคร่สามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน หากสามารถแนะนำต่อๆกันไป ขยายไปยังเหล่ามนุษยชาติอย่างไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา และเผ่าพันธุ์ สันติสุขอันไพบูลย์ที่ทุกคนใฝ่ฝัน ก็ย่อมบังเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
1. น้อมใจมาเก็บไว้ ณ ศูนย์กลางกาย แต่ละครั้งเก็บใจไว้ให้นานที่สุด จนกระทั่งกลายเป็นนิสัยมีใจตั้งมั่นภายใน
2. มีสติกำกับใจตลอดเวลา ทำให้ระลึกรู้ตัวอยู่เสมอ ไม่ยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส สัมผัส รู้ธรรมารมณ์ใดๆ (เช่น ในคำสรรเสริญ เยินยอ ยศศักดิ์ ชื่อเสียง ฯลฯ)
3. ตั้งใจฝึกสมาธิอย่างสม่ำเสมอ และตรงเวลาเป็นประจำ
4. มีอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถจริง คอยควบคุม ให้คำแนะนำ อย่างใกล้ชิด
I keep a bow at the center each time I keep them as long as possible. Until it becomes a habit is entrenched within
The conscious mind all the time. Remembering always aware. Unmoved in time to see hear smell taste touch Trrmarmns any knowledge (as in the famous eulogy rank, etc.).
I practice meditation regularly. Regularly and on time.
I actually have the ability to control the instructions closely......
ประโยชน์ของการนั่งสมาธิ
1. การนั่งสมาธิผลต่อตนเอง คือ
1.1 ด้านสุขภาพจิต
- ส่งเสริมให้คุณภาพของใจดีขึ้น คือ ทำจิตใจ ผ่องใส สะอาด บริสุทธิ์ สงบ เยือกเย็น ปลอดโปร่ง โล่ง เบา สบาย
มีความจำ และ สติ ปัญญาดีขึ้น
- ส่งเสริมสมรรถภาพทางใจ ทำอะไรคิดอะไรได้รวดเร็ว ถูกต้อง เลือกคิดแต่ในสิ่งที่ดีเท่านั้น
1.2 ด้านพัฒนาบุคลิกภาพ
- จะเป็นผู้มีบุคลิกภาพดี กระฉับกระเฉง กระปรี้กระเปร่า มีความองอาจสง่าผ่าเผย มีผิวพรรณผ่องใส
- มีความมั่นคงทางอารมณ์ หนักแน่น เยือกเย็นและเชื่อมั่นในตนเอง
- มีมนุษยสัมพันธ์ดี วางตัวได้เหมาะสมกับเทศกาลเทศะเป็นผู้มีเสน่ห์ เพราะไม่มักโกรธ มีความเมตตากรุณาต่อบุคคลทั่วไป
1.3 ด้านชีวิตประจำวัน
- ช่วยให้คลายเครียด เป็นเครื่องเสริมประสิทธิภาพในการทำงานและการศึกษาเล่าเรียน
- ช่วยเสริมให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง เพราะร่างกายกับจิตใจย่อมมีอิทธิพลต่อกัน ถ้าจิตใจเข้มแข็ง ย่อมเป็นภูมิต้านทานโรคไปในตัว
1.4 ด้านศีลธรรมจรรยา
- ย่อมเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ เชื่อกฎแห่งกรรม สามารถคุ้มครองตนให้พ้นจากความชั่วทั้งหลายได้ เป็นผู้มีความประพฤติดี เนื่องจากจิตใจดี ทำให้ความประพฤติทางกายและวาจาดีตามไปด้วย
- ย่อมเป็นผู้มีความมักน้อย สันโดษ รักสงบและมีขันติเป็นเลิศ
- ย่อมเป็นผู้มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว ย่อมเป็นผู้มีสัมมาคารวะและมีความอ่อนน้อมถ่อมตน
2. ผลต่อครอบครัว
2.1 ทำให้ครอบครัวมีความสงบสุข เพราะสมาชิกในครอบครัวเห็นประโยชน์ของการประพฤติธรรม ทุกคนตั้งมั่นอยู่ในศีล ปกครองกันด้วยธรรม เด็กเคารพผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่เมตตาเด็ก ทุกคนมีความรักใคร่สามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
2.2 ทำให้ครอบครัวมีความเจริญก้าวหน้า เพราะสมาชิกต่างก็ทำหน้าที่ของตนโดยไม่บกพร่อง เป็นผู้มีใจคอหนักแน่น เมื่อมีปัญหาครอบครัวหรือมีอุปสรรคอันใด ย่อมร่วมใจกันแก้ไขปัญหานั้นๆ ให้ลุล่วงไปได้
3. การนั่งสมาธิผลต่อสังคมและประเทศชาติ คือ
3.1 ทำให้สังคมสงบสุข ปราศจากปัญหาอาชญากรรมและปัญหาสังคมสังคมอื่นๆ เพราะปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นในสังคมไม่ว่าจะเป็นปัญหาการฆ่า การข่มขืน โจรผู้ร้าย การทุจริตคอรัปชั่น ล้วนเกิดขึ้นมาจากคนที่ขาดคุณธรรม เป็นผู้มีจิตใจอ่อนแอ หวั่นไหวต่ออำนาจสิ่งยั่วยวน หรือกิเลสได้ง่าย ผู้ที่ฝึกสมาธิย่อมมีจิตใจที่เข้มแข็ง มีคุณธรรมในใจสูง ถ้าแต่ละคนในสังคมต่างฝึกฝนอบรมใจของตนให้หนักแน่น มั่นคง ปัญหาเหล่านี้ก็จะไม่เกิดขึ้น ส่งผลให้สังคมสงบสุขได้
3.2 ทำให้เกิดควมมีระเบียบวินัย และเกิดความประหยัด ผู้ที่ฝึกใจให้ดีงามด้วยการทำสมาธิอยู่เสมอ ย่อมเป็นผู้รักมีระเบียบวินัย รักความสะอาด มีความเคารพกฎหมายของบ้านเมือง ดังนั้นบ้านเมืองเราก็จะสะอาดน่าอยู่ ไม่มีคนมักง่ายทิ้งขยะลงบนพื้นถนน จะข้ามถนน ก็เฉพาะตรงทางข้าม เป็นต้น เป็นเหตุให้ประเทศชาติไม่สิ้นเปลืองงบประมาณ เวลาและกำลังเจ้าหน้าที่ ที่ต้องใช้ไปในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากความไม่มีระเบียบวินัยของประชาชน
3.3 ทำให้สังคมเจริญก้าวหน้า เมื่อสมาชิกในสังคมมีสุขภาพจิตดีรักความเจริญก้าวหน้า มีประสิทธิภาพ ในการทำงานสูง ย่อมส่งผลให้สังคมเจริญก้าวหน้าตามไปด้วย และเมื่อมีกิจกรรมของส่วนรวม สมาชิกในสังคมก็ย่อมพร้อมที่จะสละความสุขส่วนตน ให้ความร่วมมือกับส่วนรวมอย่างเต็มที่ แม้มีผู้ไม่ประสงค์ดีต่อสังคมมายุแหย่ให้เกิดความแตกแยก ก็จะไม่เป็นผลสำเร็จ เพราะสมาชิกในสังคมเป็นผู้มีจิตใจหนักแน่น มีเหตุผล และเป็นผู้รักสงบ
4. การนั่งสมาธิผลต่อศาสนา คือ
4.1 ทำให้เข้าใจพระพุทธศาสนาได้อยางถูกต้องและรู้ซึ้งถึงคุณค่าของพระพุทธศาสนา รวมทั้งรู้เห็นด้วยตัวเองว่าการฝึกสมาธิไม่ใช่เรื่องเหลวไหลหากแต่เป็นวิธีเดียวที่จะทำให้พ้น ทุกข์เข้าสู่นิพพานได้
4.2 ทำให้เกิดศรัทธาตั้งมั่นในพระรัตนตรัย พร้อมที่จะเป็นทนายแก้ต่างให้กับพระศาสนา อันจะเป็นกำลังสำคัญในการเผยแพร่การปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง ให้แพร่หลายไปอย่างกว้างขวาง
4.3 เป็นการสืบอายุพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองตลอดไป เพราะตราบใดที่พุทธศาสนิกชน ยังตั้งใจปฏิบัติธรรม เจริญภาวนาอยู่ พระพุทธศาสนาก็จะเจริญรุ่งเรืองอยู่ตราบนั้น
4.4 จะเป็นกำลังส่งเสริมทะนุบำรุงศาสนา เพราะเมื่อเข้าใจซาบซึ้งถึงประโยชน์ของการปฏิบัติธรรมด้วยตนเองแล้ว ย่อมจะชักชวนผู้อื่นให้ทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนาตามไปด้วย เมื่อใดที่ทุกคนในสังคมตั้งใจปฏิบัติธรรม ทำทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา เมื่อนั้นย่อมหวังได้ว่าสันติสุขที่แท้จริงจะบังเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
ข้อควรระวังในการนั่งสมาธิ
1. อย่าใช้กำลัง คือ ไม่ใช้กำลังใดๆทั้งสิ้น เช่น ไม่บีบกล้ามเนื้อตา เพื่อจะให้เห็นนิมิตเร็วๆ ไม่เกร็งแขน ไม่เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง ไม่เกร็งตัว ฯลฯ เพราะการใช้กำลังตรงส่วนใดของร่างการก็ตาม จะทำให้จิตเคลื่อนจากศูนย์กลางกายไปสู่จุดนั้น
2. อย่าอยากเห็น คือ ทำใจให้เป็นกลาง ประคองสติมิให้เผลอจากบริกรรมภาวนา และบริกรรมนิมิต ส่วนจะเห็นนิมิตเมื่อใดนั้น อย่ากังวล ถ้าถึงเวลาแล้วย่อมเห็นเอง การบังเกิดของดวงนิมิตนั้น อุปมาเสมือนการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ เราไม่อาจจะเร่งเวลาได้
3. อย่ากังวลถึงการกำหนดลมหายใจเข้าออก เพราะการฝึกสมาธิเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกายภายใน อาศัยการนึกถึง อาโลกกสิณ คือ กสิณความสว่าง เป็นบาทเบื้องต้น
4. เมื่อเลิกจากนั่งสมาธิแล้ว ให้ตั้งใจไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ดที่เดียว ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม เช่น ยืน เดิน นอน หรือนั่ง อย่าย้ายฐานที่ตั้งจิตไปไว้ที่อื่นเป็นอันขาด ให้ตั้งใจบริกรรมภาวนา พร้อมกับนึกถึงบริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้วใส หรือองค์พระแก้วใส ควบคู่กันไปตลอด
5. นิมิตต่างๆที่เกิดขึ้น จะต้องน้อมไปตั้งไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ดทั้งหมด ถ้านิมิตเกิดขึ้นแล้วหายไป ก็ไม่ต้องตามหา ให้ภาวนาประคองใจต่อไปตามปกติ ในที่สุดเมื่อจิตสงบ นิมิตย่อมปรากฏขึ้นมาใหม่อีก
การฝึกสมาธิเบื้องต้น (การนั่งสมาธิ) เท่าที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ย่อมเป็นปัจจัยให้เกิดความสุขได้พอสมควร เมื่อซักซ้อมปฏิบัติอยู่เสมอๆไม่ทอดทิ้ง จนได้ดวงปฐมมรรคแล้ว ก็ให้หมั่นประครองรักษาดวงปฐมมรรคนั้นไว้ตลอดชีวิต ดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดี ย่อมเป็นหลักประกันได้ว่า ได้ที่พึ่งของชีวิตที่ถูกต้องดีงาม ที่จะส่งผลให้เป็นผู้มีความสุขความเจริญ ทั้งในภพชาตินี้และภพชาติหน้า เด็กเคารพผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่เมตตาเด็ก ทุกคนมีความรักใคร่สามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน หากสามารถแนะนำต่อๆกันไป ขยายไปยังเหล่ามนุษยชาติอย่างไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา และเผ่าพันธุ์ สันติสุขอันไพบูลย์ที่ทุกคนใฝ่ฝัน ก็ย่อมบังเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
ขอคอบพระคุณข้อมูลจาก http://www.dmc.tv/
07 July 2013
เรื่องราวดีดี
๑.ไม่ว่าวันนี้จะเลวร้ายแค่ไหน
จงยิ้มเข้าไว้ เพราะพรุ่งนี้อาจจะเลวร้ายยิ่งกว่า
๒.คำว่า 'พรุ่งนี้รวย' ของคนขายลอตเตอรี่
ไม่ใช่คำมั่นสัญญา แต่เป็นปรัชญาที่ต้องตีความ
เหมือนคำพูดของนักการเมือง ตอนหาเสียง
๓.สิ่งที่คนเมาพูด คือ สิ่งที่คนปกติคิด
๔.ปัญหาทุกอย่างมีทางแก้
แต่ไม่ว่าคุณจะแก้ดียังไง มันก็จะนำไปสู่ปัญหาใหม่
ที่ต้องให้คุณคิดหาทางแก้ไขต่อไป เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ
๕.ทุกปัญหาย่อมมีวิธีแก้ที่ง่ายที่สุด
แต่วิธีแก้ที่ง่ายที่สุด จะพบหลังจากใช้วิธียากที่สุดไปแล้ว
๖.อะไรก็ตามที่คุณอยากจะถาม
เป็นไปได้มากว่า มันคือสิ่งที่คุณไม่ควรจะรู้
๗.คนเรามักจะพูดในเรื่องที่ไม่ควรพูด
ในเวลาที่ไม่เหมาะที่สุด และกับคนที่ไม่น่าจะพูดที่สุด
๘.สินค้าที่ประสบความสำเร็จทางการตลาดที่สุด คือ
สินค้าที่คนโง่ที่สุดใช้เป็น และอยากจะใช้
แม้จะไม่มีประโยชน์อะไรเลยก็ตาม
๙.เมื่อคุณมาประชุมสาย ประธานจะมาตรงเวลา
และเมื่อคุณมาตรงเวลา การประชุมเลื่อนไปไม่มีกำหนด
๑๐.อะไรก็ตามที่คุณคิดได้ และรู้สึกว่ามันสุดยอดจริงๆ
คุณก็จะพบว่า มีคนอื่นที่ไหนสักแห่ง คิดมาแล้ว
นำเอาไว้เป็นคติ หรือไว้เป็นธรรมะสอนใจ หรือเอาไว้อ่านความขำๆก็ได้นะ
Take it as a motto. Or as GMT. Or it was too funny to read.
1, No matter how bad this is.
Keep smiling. Because tomorrow may be worse than
2. Term 'Tomorrow rich' of the lottery sales.
Non-commitment. It is a philosophy that must be interpreted.
I like the words of a political campaign.
3., What people say is what people normally think drunk.
4 Problem, everything has a solution.
But no matter how well you solve it. It will lead to new problems.
You need to figure out a solution to the next. As such indefinitely.
5. Every problem there is a simple solution.
But the easiest solution. Will find the most difficult to use.
6. Whatever you want to ask.
It is very possible that It is something you should know.
7. People tend to speak in terms that should not be said.
In time is not the best fit. And the people who do the most to say.
8. Products success is marketing.
Products that people use and want to use the most foolish.
Despite useless to them.
9., When you come to a conference call. President to come on time.
And when you come on time. Meeting postponed indefinitely.
10. Whatever you think. And it feels fantastic.
You will find that there are others somewhere I think.
----------------------------------------------------
"ธรรมดาเราดูแต่คนอื่น 90 % ดูตัวเองแค่ 10 %"
คือคอยดูแต่ความผิดของคนอื่น เพ่งโทษคนอื่น คิดแต่จะแก้ไขคนอื่น
ลองกลับเสียใหม่นะ ดูคนอื่นเหลือไว้ 10 % ดูเพื่อศึกษาว่า เมื่อเขาทำอย่างนั้น คนอื่นจะรู้สึกอย่างไร เพื่อเอามาสอนตัวเองนั่นแหละ ดูตัวเอง พิจารณาตัวเอง 90 % จึงเรียกว่าปฏิบัติธรรมอยู่
ธรรมชาติของจิตใจมันเข้าข้างตัวเอง โบราณพูดว่า "เรามักจะเห็นความผิดของคนอื่นเท่าภูเขา ความผิดของตนเองเท่ารูเข็ม" มันเป็นความจริงอย่างนั้นด้วย เราจึงต้องระวังความรู้สึกนึกคิดของตัวเองให้มากๆ เห็นความผิดของคนอื่นให้หารด้วย ๑๐ เห็นความผิดตัวเองให้คูณด้วย ๑๐ จึงจะใกล้เคียงกับความจริงและยุติธรรม เพราะเหตุนี้เราจะต้องพยายามมองแง่ดีของคนอื่นมากๆ และตำหนิติเตียนตัวเองมากๆ แต่ถึงอย่างไรเราก็ยังเข้าข้างตัวเองนั่นแหละ
พยายามอย่าสนใจการกระทำการปฏิบัติของคนอื่น ดูตัวเองสนใจแก้ไขตัวเองนั่นแหละมากๆ เช่น เข้าครัวเห็นเด็กทำอะไรไม่ถูกใจแล้วก็เกิดอารมณ์ร้อนใจ ยังไม่ต้องบอกให้เขาแก้ไขอะไรหรอก รีบแก้ไขระงับอารมณ์ร้อนใจของตัวเองเสียก่อน เห็นอะไรคิดอะไรรู้สึกอย่างไรก็สักแต่ว่าใจเย็นๆไว้ก่อน ความเห็นความคิดความรู้สึกก็ไม่แน่อาจจะถูกก็ได้อาจจะผิดก็ได้เราอาจจะเปลี่ยนความเห็นก็ได้ สักแต่ว่าใจเย็นๆไว้ก่อนยังไม่ต้องพูด
ดูใจเราก่อน สอนใจเราก่อน หัดปล่อยวางก่อน เมื่อจิตปกติแล้วจึงค่อยพูดจึงค่อยออกความเห็น พูดด้วยเหตุด้วยผลประกอบด้วยจิตเมตตากรุณา ขณะมีอารมณ์อย่าเพิ่งพูดทำให้เสียความรู้สึกของผู้อื่น ทำให้เสียความรู้สึกของตัวเอง ไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร มักจะเสียประโยชน์ซ้ำไป เพราะฉะนั้น อยู่ที่ไหน อยู่ที่วัด อยู่ที่บ้าน ก็สงบๆ ไม่ต้องดูคนอื่นว่าเขาทำผิด ดูแต่ตัวเราระวังความรู้สึก ระวังอารมณ์ของเราเองให้มากๆ พยายามแก้ไขพัฒนาตัวเรา
เห็นอะไรชอบ ไม่ชอบ ปล่อยไว้ก่อน เรื่องของคนอื่นพยายามอย่าให้เข้ามาที่จิตใจเรา ถ้าไม่ระวังก็จะยุ่งกับเรื่องของคนอื่นไปเรื่อยๆ หาเรื่องอยู่อย่างนั้นเอาเรื่องโน้นเรื่องนี้มาเป็นเรื่องของเราหมด มีแต่ยินดียินร้ายพอใจไม่พอใจทั้งวัน อารมณ์มากจิตไม่ปกติไม่สบาย ทั้งวันก็หมดแรง
ระวังนะ
พยายามตามดูจิตของเรา รักษาจิตของเราให้เป็นปกติให้มาก
ใครจะเป็นอะไร ใครจะทำอะไร ดีหรือไม่ดี เรื่องของเขา
แม้เขาจะทำกับเรา ด่าว่าเรา ก็เรื่องของเขา
อย่าเอามาเป็นอารมณ์
อย่าเอามาเป็นเรื่องของเรา
ดูใจเรานั่นแหละ พัฒนาตัวเองนั่นแหละ ทำใจเราให้ปกติ สบายๆ มากๆ หัด-ฝึก ปล่อยวาง นั่นเอง ไม่มีอะไรหรอก
"ไม่มีอะไรสำคัญกว่าการตามรักษาจิตของเรา คิดดี พูดดี ทำดี มีความสุข"
"There is nothing more important than keeping our mental as well say good idea to have a happy".
"We see it myself, but the other 90% only 10%".
Is watching, but the fault of others. Focus blame on others. I will fix the other.
Try not to lose it. See the other 10% look to the left that When they do that. Others will feel. I taught myself to see for yourself that 90% consider themselves so-called practice is.
Sided nature of the mind itself is an ancient saying that "we tend to see the sins of others as a mountain. Fault of their own as the needle "It is true that, with We must be conscious of yourself, too. The fault of others to see the fault divided by 10 multiplied by itself 10 to be close to the truth and justice. Because of this, we must try to be more optimistic. And blame themselves a lot. But how do we continue to favor its own right.
Try not to do the actions of others. See for yourself that much attention to themselves, such as the kitchen, then I do not see the emotional restlessness. Do not tell him what to do. I anxious to suppress their own first. What I did feel was just only composed beforehand. Comments, thoughts, feelings can not be right I could be wrong, we might see a change. Just only the calm before the speech.
View our minds before we teach it before I leave the place before. Usually when I spoke and then gradually leave comments. To reason with the spiritual generosity. Do not talk while emotionally upset the feelings of others. Impair the sense of self. Not benefit as they should. Therefore usually have to repeat the measurements, where the house was quiet, he did not need to see other people's mistakes. But we watch it. Aware of our own emotions a lot. Trying to develop ourselves.
I never saw anything like it before the others try not to come to mind. If not careful, it can interfere with others and so on. ARG is factored so far this is the story of us all. But not satisfied with the day unmoved. I do not normally emotional discomfort. The day I was exhausted.
Careful me.
View our mental efforts. Maintain our mental as much as usual.
Who is anyone to do anything good or bad about him.
Even though he made us think that we were about him.
Do not be emotional.
Not only is our
Stratospheric me. Develop its own right. We provide the most relaxing mind me - because let's practice it.
พระธรรมเทศนาโดย หลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโร
วัดป่านาสีดา จ.อุดรธานี
จงยิ้มเข้าไว้ เพราะพรุ่งนี้อาจจะเลวร้ายยิ่งกว่า
๒.คำว่า 'พรุ่งนี้รวย' ของคนขายลอตเตอรี่
ไม่ใช่คำมั่นสัญญา แต่เป็นปรัชญาที่ต้องตีความ
เหมือนคำพูดของนักการเมือง ตอนหาเสียง
๓.สิ่งที่คนเมาพูด คือ สิ่งที่คนปกติคิด
๔.ปัญหาทุกอย่างมีทางแก้
แต่ไม่ว่าคุณจะแก้ดียังไง มันก็จะนำไปสู่ปัญหาใหม่
ที่ต้องให้คุณคิดหาทางแก้ไขต่อไป เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ
๕.ทุกปัญหาย่อมมีวิธีแก้ที่ง่ายที่สุด
แต่วิธีแก้ที่ง่ายที่สุด จะพบหลังจากใช้วิธียากที่สุดไปแล้ว
๖.อะไรก็ตามที่คุณอยากจะถาม
เป็นไปได้มากว่า มันคือสิ่งที่คุณไม่ควรจะรู้
๗.คนเรามักจะพูดในเรื่องที่ไม่ควรพูด
ในเวลาที่ไม่เหมาะที่สุด และกับคนที่ไม่น่าจะพูดที่สุด
๘.สินค้าที่ประสบความสำเร็จทางการตลาดที่สุด คือ
สินค้าที่คนโง่ที่สุดใช้เป็น และอยากจะใช้
แม้จะไม่มีประโยชน์อะไรเลยก็ตาม
๙.เมื่อคุณมาประชุมสาย ประธานจะมาตรงเวลา
และเมื่อคุณมาตรงเวลา การประชุมเลื่อนไปไม่มีกำหนด
๑๐.อะไรก็ตามที่คุณคิดได้ และรู้สึกว่ามันสุดยอดจริงๆ
คุณก็จะพบว่า มีคนอื่นที่ไหนสักแห่ง คิดมาแล้ว
นำเอาไว้เป็นคติ หรือไว้เป็นธรรมะสอนใจ หรือเอาไว้อ่านความขำๆก็ได้นะ
Take it as a motto. Or as GMT. Or it was too funny to read.
1, No matter how bad this is.
Keep smiling. Because tomorrow may be worse than
2. Term 'Tomorrow rich' of the lottery sales.
Non-commitment. It is a philosophy that must be interpreted.
I like the words of a political campaign.
3., What people say is what people normally think drunk.
4 Problem, everything has a solution.
But no matter how well you solve it. It will lead to new problems.
You need to figure out a solution to the next. As such indefinitely.
5. Every problem there is a simple solution.
But the easiest solution. Will find the most difficult to use.
6. Whatever you want to ask.
It is very possible that It is something you should know.
7. People tend to speak in terms that should not be said.
In time is not the best fit. And the people who do the most to say.
8. Products success is marketing.
Products that people use and want to use the most foolish.
Despite useless to them.
9., When you come to a conference call. President to come on time.
And when you come on time. Meeting postponed indefinitely.
10. Whatever you think. And it feels fantastic.
You will find that there are others somewhere I think.
----------------------------------------------------
"ธรรมดาเราดูแต่คนอื่น 90 % ดูตัวเองแค่ 10 %"
คือคอยดูแต่ความผิดของคนอื่น เพ่งโทษคนอื่น คิดแต่จะแก้ไขคนอื่น
ลองกลับเสียใหม่นะ ดูคนอื่นเหลือไว้ 10 % ดูเพื่อศึกษาว่า เมื่อเขาทำอย่างนั้น คนอื่นจะรู้สึกอย่างไร เพื่อเอามาสอนตัวเองนั่นแหละ ดูตัวเอง พิจารณาตัวเอง 90 % จึงเรียกว่าปฏิบัติธรรมอยู่
ธรรมชาติของจิตใจมันเข้าข้างตัวเอง โบราณพูดว่า "เรามักจะเห็นความผิดของคนอื่นเท่าภูเขา ความผิดของตนเองเท่ารูเข็ม" มันเป็นความจริงอย่างนั้นด้วย เราจึงต้องระวังความรู้สึกนึกคิดของตัวเองให้มากๆ เห็นความผิดของคนอื่นให้หารด้วย ๑๐ เห็นความผิดตัวเองให้คูณด้วย ๑๐ จึงจะใกล้เคียงกับความจริงและยุติธรรม เพราะเหตุนี้เราจะต้องพยายามมองแง่ดีของคนอื่นมากๆ และตำหนิติเตียนตัวเองมากๆ แต่ถึงอย่างไรเราก็ยังเข้าข้างตัวเองนั่นแหละ
พยายามอย่าสนใจการกระทำการปฏิบัติของคนอื่น ดูตัวเองสนใจแก้ไขตัวเองนั่นแหละมากๆ เช่น เข้าครัวเห็นเด็กทำอะไรไม่ถูกใจแล้วก็เกิดอารมณ์ร้อนใจ ยังไม่ต้องบอกให้เขาแก้ไขอะไรหรอก รีบแก้ไขระงับอารมณ์ร้อนใจของตัวเองเสียก่อน เห็นอะไรคิดอะไรรู้สึกอย่างไรก็สักแต่ว่าใจเย็นๆไว้ก่อน ความเห็นความคิดความรู้สึกก็ไม่แน่อาจจะถูกก็ได้อาจจะผิดก็ได้เราอาจจะเปลี่ยนความเห็นก็ได้ สักแต่ว่าใจเย็นๆไว้ก่อนยังไม่ต้องพูด
ดูใจเราก่อน สอนใจเราก่อน หัดปล่อยวางก่อน เมื่อจิตปกติแล้วจึงค่อยพูดจึงค่อยออกความเห็น พูดด้วยเหตุด้วยผลประกอบด้วยจิตเมตตากรุณา ขณะมีอารมณ์อย่าเพิ่งพูดทำให้เสียความรู้สึกของผู้อื่น ทำให้เสียความรู้สึกของตัวเอง ไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร มักจะเสียประโยชน์ซ้ำไป เพราะฉะนั้น อยู่ที่ไหน อยู่ที่วัด อยู่ที่บ้าน ก็สงบๆ ไม่ต้องดูคนอื่นว่าเขาทำผิด ดูแต่ตัวเราระวังความรู้สึก ระวังอารมณ์ของเราเองให้มากๆ พยายามแก้ไขพัฒนาตัวเรา
เห็นอะไรชอบ ไม่ชอบ ปล่อยไว้ก่อน เรื่องของคนอื่นพยายามอย่าให้เข้ามาที่จิตใจเรา ถ้าไม่ระวังก็จะยุ่งกับเรื่องของคนอื่นไปเรื่อยๆ หาเรื่องอยู่อย่างนั้นเอาเรื่องโน้นเรื่องนี้มาเป็นเรื่องของเราหมด มีแต่ยินดียินร้ายพอใจไม่พอใจทั้งวัน อารมณ์มากจิตไม่ปกติไม่สบาย ทั้งวันก็หมดแรง
ระวังนะ
พยายามตามดูจิตของเรา รักษาจิตของเราให้เป็นปกติให้มาก
ใครจะเป็นอะไร ใครจะทำอะไร ดีหรือไม่ดี เรื่องของเขา
แม้เขาจะทำกับเรา ด่าว่าเรา ก็เรื่องของเขา
อย่าเอามาเป็นอารมณ์
อย่าเอามาเป็นเรื่องของเรา
ดูใจเรานั่นแหละ พัฒนาตัวเองนั่นแหละ ทำใจเราให้ปกติ สบายๆ มากๆ หัด-ฝึก ปล่อยวาง นั่นเอง ไม่มีอะไรหรอก
"ไม่มีอะไรสำคัญกว่าการตามรักษาจิตของเรา คิดดี พูดดี ทำดี มีความสุข"
"There is nothing more important than keeping our mental as well say good idea to have a happy".
"We see it myself, but the other 90% only 10%".
Is watching, but the fault of others. Focus blame on others. I will fix the other.
Try not to lose it. See the other 10% look to the left that When they do that. Others will feel. I taught myself to see for yourself that 90% consider themselves so-called practice is.
Sided nature of the mind itself is an ancient saying that "we tend to see the sins of others as a mountain. Fault of their own as the needle "It is true that, with We must be conscious of yourself, too. The fault of others to see the fault divided by 10 multiplied by itself 10 to be close to the truth and justice. Because of this, we must try to be more optimistic. And blame themselves a lot. But how do we continue to favor its own right.
Try not to do the actions of others. See for yourself that much attention to themselves, such as the kitchen, then I do not see the emotional restlessness. Do not tell him what to do. I anxious to suppress their own first. What I did feel was just only composed beforehand. Comments, thoughts, feelings can not be right I could be wrong, we might see a change. Just only the calm before the speech.
View our minds before we teach it before I leave the place before. Usually when I spoke and then gradually leave comments. To reason with the spiritual generosity. Do not talk while emotionally upset the feelings of others. Impair the sense of self. Not benefit as they should. Therefore usually have to repeat the measurements, where the house was quiet, he did not need to see other people's mistakes. But we watch it. Aware of our own emotions a lot. Trying to develop ourselves.
I never saw anything like it before the others try not to come to mind. If not careful, it can interfere with others and so on. ARG is factored so far this is the story of us all. But not satisfied with the day unmoved. I do not normally emotional discomfort. The day I was exhausted.
Careful me.
View our mental efforts. Maintain our mental as much as usual.
Who is anyone to do anything good or bad about him.
Even though he made us think that we were about him.
Do not be emotional.
Not only is our
Stratospheric me. Develop its own right. We provide the most relaxing mind me - because let's practice it.
พระธรรมเทศนาโดย หลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโร
วัดป่านาสีดา จ.อุดรธานี
อย่าเชื่อว่า...เราทำไม่ได้..ถ้ายังไม่ได้ลงมือทำ..
อย่าท้อแท้..ตราบใดที่เรายังไม่ได้พยายาม..
อย่าสิ้นหวัง...ตราบใดที่เรายังมีกำลังใจ..
อย่าแพ้ชีวิต...ตราบใดที่ใจของเรายังมีหวัง..
จงอย่าทำลายความหวัง...เพียงเพราะ....
การดูหมิ่นตนเองว่า... “ทำไม่ได้”...
อย่าท้อแท้..ตราบใดที่เรายังไม่ได้พยายาม..
อย่าสิ้นหวัง...ตราบใดที่เรายังมีกำลังใจ..
อย่าแพ้ชีวิต...ตราบใดที่ใจของเรายังมีหวัง..
จงอย่าทำลายความหวัง...เพียงเพราะ....
การดูหมิ่นตนเองว่า... “ทำไม่ได้”...
Do not believe it ... we do not do it .. if not ..
Do not be discouraged .. as long as we have not tried yet ..
Do not hopeless ... as long as we have encouragement ..
Do not lose heart, our life ... as long as there is still hope ..
Do not destroy any hope ... just because ....
Contemptuous itself ... "Do not" ...
บทความโดย..ชายน้อย...
ธรรมะไทย http://www.dhammathai.org
01 July 2013
Shared : รีแล็กสVDO
๑.การฝึกใจ...
๒.ต่อสู้ความกลัว...
๓.ทางสายกลาง...
๔.เข้าสู่หลักธรรม...
*๕.Spa Music Relaxation With Piano Long Time Mix by Spavevo
*๖.Meditation (Zen Music)
*๗.6 Hour of The Best Beethoven - Classical Music Piano Studying Concentra...
*๘.Arthur Rubinstein - Chopin Nocturnes, Op. 9 - Op. 72
*๙.Brain Music - STUDY FOCUS CONCENTRATE - HELP YOU WORK FAST
*๑o.
หวังว่าคงจะมีความสุขใจกันถ้วนหน้าน่ะค่ะ
29 June 2013
แนะนำสถานปฏิบัติธรรม
1. วัดธรรมมงคล 132 ถ.สุขุมวิท ซอย 101 ตรอกปุณณวิถี 20 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ 10260 โทร. 02-311-1387, 02-332-4145, 02-741-7822 วิปัสสนาจารย์ พระเทพเจติยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) แนวการปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา "พุทโธ" สถานที่ปฏิบัติมีหลายแห่ง คือ 1. ศาลาปฏิบัติธรรม เป็นห้องมุ้งลวด 2. ถ้ำวิปัสสนา (จำลอง) 3. ศูนย์สมาธิวิริยานุภาพ มี 80 ห้องพัก ทุกห้องมีเครื่องปรับอากาศ 4. ห้องสำหรับทำสมาธิ 5. สถานปฏิบัติธรรม จ.เชียงราย 6. สำนักสงฆ์น้ำตกแม่กลาง
2. วัดอัมพวัน 53 หมู่ที่ 4 ถ.เอเชีย กม. 130 บ้านอัมพวัน ต.พรหมบุรี อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี 16160 โทร. (036) 599-381, (036) 599-175 วิปัสสนาจารย์ พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) แนวการปฏิบัติ สติปัฏฐาน 4 บริกรรม "ยุบหนอ พองหนอ"
3. ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 58/8 ถ.เพชรเกษม 54 เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 10160 โทร. 02-413-1706, 02-805-0790-4 วิปัสสนาจารย์ คุณแม่สิริ กรินชัย แนวการปฏิบัติ แนวสติปัฏฐาน 4 เจริญสติอย่างต่อเนื่อง ตามแนวพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ สถานที่เป็นตึกทันใหม่ทันสมัยหลายหลัง โดยทั่วไปการอบรมใช้เวลา 8 วัน 7 คืน
4. สวนโมกขพลาราม (วัดธารน้ำไหล) 68 หมู่ที่ 1 ต.เลเม็ด อ ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี 84110 โทร. (077) 431-596-7, (077) 431-661-2 วิปัสสนาจารย์ ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ แนวการปฏิบัติ อานาปานสติภาวนา สวนโมกขพลารามมีการจัดอบรมปฏิบัติธรรมเป็นประจำทุกเดือน
5. วัดป่าสุนันทวนาราม 110 หมู่ที่ 8 บ้านท่าเตียน ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี 71150วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก แนวการปฏิบัติ อานาปานสติภาวนา เปิดอบรม "อานาปานสติภาวนา" แก่ผู้สนใจ ครั้งละ 9 วัน เปิดรับครั้งละ 100-150 คน เป็นการปฏิบัติที่เคร่งครัด กินอาหารวันละ 1 มื้อ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ มูลนิธิมายา โคตมี คุณดารณี บุญช่วย โทร. 02-321-6320, 02-676-3453, 02-676-4323
6. วัดภูหล่น 9 บ้านภูหล่น ต.สงยาง อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี 34250 ปฐมวิปัสสนาจารย์ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต (วัดภูหล่น เป็นสถานที่หลวงปู่มั่นออกธุดงค์ครั้งแรกกับหลวงปู่เสาร์) แนวการปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา "พุทโธ" วัดนี้ค่อนข้างจะห่างจากตัวเมือง บรรยากาศดีมาก เย็นสบาย และเงียบสงบ มีสิ่งปลูกสร้างที่อยู่บนเขาไม่สูงนัก สามารถกางกลดอยู่ได้ มีโบสถ์บนเขาและมีกุฏิโดยรอบ บ้างก็ซ่อนอยู่ตามซอกเขา ที่นี่เหมาะกับผู้เคยปฏิบัติธรรมมาแล้ว ต้องการมาปฏิบัติขั้นอุกฤษฎ์
7. วัดถ้ำขาม บ้านคำข่า หมู่ที่ 4 ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร 47130 วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร แนวการปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา "พุทโธ" วัดมีเนื้อที่ 840 ไร่ พื้นที่จรดเขตอุทยานป่าแนวเทือกเขาภูพาน วัดอยู่บนเขาสูง แต่ก็มีบันไดขึ้นลงสะดวก มีลิงป่า และไก่ป่า ที่พัก มีที่พักเป็นกุฏิ (กุฏิละ 1 คน) หรือพักรวมบนศาลาก็ได้ เหมาะสำหรับผู้ต้องการมาปฏิบัติภาวนาขั้นอุกฤษฎ์
8. วัดมเหยงคณ์ ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา 13000 โทร. (035) 881-601-2, 081-853-5669 โทรสาร (035) 881-603 วิปัสสนาจารย์ พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี) แนวการปฏิบัติ เดินจงกรม นั่งสมาธิ กำหนดรู้รูป-นาม - บวชเนกขัมมภาวนา ในช่วงเทศกาลวันสำคัญของชาติ-ศาสนา และวันประเพณีไทย ปีละ 8 ครั้ง รับสมัครทั้งชาย-หญิง ไม่จำกัดจำนวน - จัดอบรมวิปัสสนากรรมฐาน รุ่นระยะเวลา 9 วัน เป็นประจำทุกเดือนๆ ละ 1 ครั้ง รับสมัครเฉพาะผู้ที่สนใจจริงในการเจริญสติปัญญาเท่านั้น ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ จำนวนจำกัดรุ่นละ 35 ท่าน โดยต้องสมัครเข้าอบรมล่วงหน้า - บวชเนกขัมมภาวนาถือศีล 8 ปฏิบัติธรรมเป็นประจำทุกวัน รับสมัครทั้งชาย-หญิง โดยมีพิธีบวชทุกๆ วัน เวลา 09.00 น. - ถือศีลอุโบสถ พักค้างคืนที่วัดทุกวันพระตลอดปี - อบรมปฏิบัติธรรมพิเศษให้กับคณะข้าราชการหรือเอกชนที่ขอเข้ารับการอบรมเป็นกลุ่ม - รับกุลบุตรที่มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ตั้งใจจะบวชเป็นภิกษุสามเณรเพื่อศึกษาปฏิบัติธรรม
9. สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต หมู่ที่ 1 สี่แยกหินกอง บนเขาเทพพนมยงค์ ต.โคกแย้ อ.หนองแค จ.สระบุรี 18230 โทร. (036) 379-428, (036) 305-239 วิปัสสนาจารย์ พระสุนทรธรรมภาณ (พระอาจารย์สมชาติ ธมฺมโชโต) แนวการปฏิบัติ เน้นให้ผู้ฝึกมีสติรู้ในอิริยาบท ภาวนาเจริญสติกำหนดในกายตน-จิตตน มองทุกอย่างให้เห็นว่าศีลอยู่ตรงไหน ศีลคืออะไร สมาธิจิตคืออะไร จิตสงบอย่างไร เป็นปัจจัตตัง เป็นจุดที่ต้องหาเหตุ ทุกวันเสาร์-อาทิตย์, วันสำคัญทางศาสนาและวันสำคัญของชาติ จะมีการจัดอบรมภาวนา ฝึกวิปัสสนากรรมฐาน บวชชีพราหมณ์ บวชเนกขัมมะ (ศีล8) ปัจจุบัน สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต มีวัดสาขาอีก 2 แห่งคือ (ก) วัดป่าสว่างวีรวงศ์ (แสงธรรมส่องชีวิต) บ้านสะพานโดม ต.แก่งโดม กิ่ง อ.สว่างวีรวงศ์ จ.อุบลราชธานี 34190 เจ้าหน้าที่ : แม่ชีแวว โทร. 081-600-0848 (ข) สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต (สาขาปากช่อง) หมู่ที่ 8 บ้านหนองตาแก้ว ต.ปากช่อง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30130 เจ้าหน้าที่ : แม่ชีนลินรัตน์ โทร. 089-777-1625 สาขาปากช่องนี้ มีเนื้อที่ 200 กว่าไร่ บรรยากาศเหมือนรีสอร์ท อากาศเย็นสบาย ร่มรื่น สัปปายะ เหมาะแก่การปฏิบัติภาวนาเป็นยิ่งนัก โดยเราอาจเลือกปฏิบัติบนศาลาร่วมกับหมู่คณะ หรือเลือกปฏิบัติแบบเข้ม-เข้ากรรมฐาน ปิดวาจา พักในกุฏิ ก็ได้ นอกจากนี้แล้ว สาขานี้ยังใช้เป็นสถานที่จัดอบรมปฏิบัติธรรม โดยเฉพาะจัดอบรมปฏิบัติธรรมแก่เยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา คณาจารย์ จากสถาบันการศึกษาต่างๆ ข้าราชการตำรวจ-ทหาร และข้าราชการฝ่ายปกครอง เช่น โครงการพัฒนาจิตเพื่อสันติสุข ฯลฯ
10. วัดสนามใน 27 หมู่ที่ 4 ต.วัดชลอ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี 11130 โทร. 02-429-2119, 02-883-7251 วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ แนวการปฏิบัติ เน้นการเจริญสติรู้การเคลื่อนไหวของกาย ตามหลักสติปัฏฐาน 4 วิธีที่เป็นที่นิยมคือวิธีสร้างจังหวะ เป็นวิธีสร้างสติแบบนั่งทำสมาธิแต่ไม่ต้องหลับตา
11. วัดป่านานาชาติ หมู่ที่ 7 บ้านบุ่งหวาย ต.บุ่งหวาย อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี 34310
(สาขา 119 ของวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี) วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อชา สุภัทโท และพระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ แนวการปฏิบัติ เน้นให้มีสติสม่ำเสมอ ฝึกสมาธิแบบอานาปานสติ เป็นวัดป่าที่มีต้นไม้ใหญ่มาก มียุงและแมลงต่างๆ มาก คนที่แพ้ยุงก็ควรหายากันยุงไปด้วย อากาศเย็นสบาย ทานอาหารวันละ 1 มื้อ การไปให้เขียนจดหมายไปขออนุญาตจากเจ้าอาวาส แล้วจึงเดินทางไปอยู่
12. วัดปทุมวนาราม ถ.พระราม 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร. 02-251-2315, 02-252-5465 วิปัสสนาจารย์ พระราชพิพัฒนาทร (หลวงพ่อถาวร จิตฺตถาวโร) แนวการปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา "พุทโธ" นั่งปฏิบัติในศาลาพระราชศรัทธา มีอาสนะและผ้าคลุมตักให้หยิบใช้ได้ บริเวณโดยรอบมีการปลูกแต่งด้วยต้นไม้ใหญ่น้อย ร่มรื่นสวยงาม กำหนดการปฏิบัติธรรมที่ศาลาฯ ประจำวันจันทร์-ศุกร์ วันละ 3 เวลา เช้า 7.00-8.00 น. กลางวัน 12.00-13.00 น. เย็น 17.00-20.00 น.
13. วัดปากน้ำภาษีเจริญ 300 ถ.รัชมงคลประสาธน์ แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ10160 โทร. 02-467-0811, 02-457-9042, 02-457-4001 วิปัสสนาจารย์ พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด จนฺทสโร) แนวการปฏิบัติ ตามแนวธรรมกาย ใช้คำบริกรรม "สัมมาอรหัง" สถานที่ปฏิบัติ 1. หอเจริญวิปัสสนาฯ ชั้น 2 เป็นห้องแอร์ปูพรม 2. หอสังเวชนีย์มงคลเทพนิมิต 3. ตึกบวรเทพมุนี
14. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์ 3 ท่าพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200โทร. 02-222-6011, 02-222-4981 วิปัสสนาจารย์ พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) แนวการปฏิบัติ ตามแนวสติปัฏฐาน 4 ใช้คำบริกรรม "ยุบหนอ พองหนอ" สถานที่ปฏิบัติ คณะ 5 สำนักงานกลาง กองการวิปัสสนาธุระ เปิดทุกวัน สอนเดินจงกรมและนั่งสมาธิ เช้า 07.00-10.00 น. กลางวัน 13.00-16.00 น. เย็น 18.00-19.00 น.
15. วัดอินทรวิหาร อาคารปฏิบัติธรรม ?เฉลิมพระเกียรติ? วัดอินทรวิหาร แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทร. 02-628-5550-2 วิปัสสนาจารย์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แนวการปฏิบัติ แนวหลักสูตรของคุณแม่สิริ กรินชัย 8 วัน 7 คืน หรือ 4 วัน 3 คืน เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมขยายผล จากผู้ปฏิบัติธรรมกับคุณแม่สิริ กรินชัย เป็นอาคารทันสมัย 5 ชั้น จุได้ประมาณ 500 คน
16. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พุทธมณฑล ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม73170 โทร. 02-441-9009, 02-441-9012 แนวการปฏิบัติ สติปัฏฐาน 4กำหนดรู้อารมณ์ บริกรรม "ยุบหนอ พองหนอ" สถานที่ปฏิบัติ ชั้น 2 ของหอประชุม มีเครื่องปรับอากาศ ห้องนอน มีเครื่องนอน เช่น หมอน มุ้ง ผ้าห่มให้พร้อมหรือนำไปเองก็ได้ ทานอาหาร 2 มื้อ
17. ศูนย์วิปัสสนายุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย เฉลิมพระเกียรติ ศูนย์ที่ 2 จังหวัดปทุมธานี 19 หมู่ที่16 ต.คลองสาม อ.คลองสาม จ.ปทุมธานี 12120 โทร. 02-986-6403-5 โทรสาร 02-986-6403-4 ต่อ 111 เป็นสาขาของยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย เพชรเกษม54 วิปัสสนาจารย์ คุณแม่สิริ กรินชัย แนวการปฏิบัติ แนวสติปัฏฐาน 4 เจริญสติอย่างต่อเนื่อง ตามแนวพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ สถานที่ร่มรื่น สงบเย็น สัปปายะดีมาก โดยทั่วไปการอบรมใช้เวลา 8 วัน 7 คืน
18. วัดอโศการาม 136 หมู่ที่ 2 กม. 31 ถ.สุขุมวิท (สายเก่า) ซ.สุขาภิบาล 58 ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 10280 โทร. 02-389-2299, 02-703-8405 วิปัสสนาจารย์ พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร) แนวการปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา "พุทโธ" พื้นที่อาณาบริเวณกว้างขวาง มีสระน้ำใหญ่ในบริเวณวัด กุฏิพระ แม่ชี และที่พักแยกเป็นสัดส่วนเรียงรายรอบวัด400 กว่าหลัง ส่วนมากตั้งอยู่ติดริมทะเลซึ่งเป็นป่าชายเลนหรือป่าโกงกาง
19. วัดญาณสังวราราม วรมหาวิหาร บ้านห้วยใหญ่ ต.ห้วยใหญ่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี 20150 โทร. (038) 237-506, (038) 237-642, (038) 237-912 วิปัสสนาจารย์ พระจุลนายก (พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต) สถานที่ปฏิบัติ เป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น มีอาคาร ญส. 72 ชาย และ ญส. 72 หญิง ชั้นละ 10 ห้อง มีห้องน้ำในตัว เรือนปฏิบัติธรรมมี 17 หลัง
20. สำนักวิปัสสนากรรมฐานวิเวกอาศรม ซ.ประชานุกูล 7 ถ.ชลบุรี-บ้านบึง ต.บ้านสวน อ.เมือง จ.ชลบุรี20000 โทร. (038) 283-766, (038) 283-340, 081-861-3544วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์ภัททันตะ อาสภมหาเถระ แนวการปฏิบัติ สติปัฏฐาน 4 ใช้คำบริกรรม "ยุบหนอ พองหนอ" สำนักฯ มีเรือนพักปฏิบัติธรรมทั้งหญิง-ชาย แยกเป็นสัดส่วนอยู่จำนวนมาก การอยู่ปฏิบัติให้พักคนเดียว เน้นการเก็บอารมณ์ ไม่พูดคุยกัน อย่างเคร่งครัด การรับประทานอาหารจะมีปิ่นโตส่งถึงห้อง 2 มื้อ ทุกวันจะมีการสอบอารมณ์กรรมฐานโดยพระอาจารย์-พระวิปัสสนาจารย์ ค่าน้ำไฟ-อาหาร วันละ 150 บาท หรือเดือนละ 4,500 บาท ห้ามอยู่เกิน 90 วัน
21. วัดภัททันตะอาสภาราม สำนักวิปัสสนาสมมิตร-ปราณี 118/1 หมู่ที่ 1 บ้านหนองปรือ ต.หนองไผ่แก้ว อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี 20220 โทร. (038) 292-361, 081-713-0764, 081-921-1101 วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์ภัททันตะ อาสภมหาเถระ แนวการปฏิบัติ สติปัฏฐาน 4 ใช้คำบริกรรม "ยุบหนอ พองหนอ" เปิดสอนทุกวัน มีพระวิปัสสนาจารย์คอยสอบอารมณ์กรรมฐานทุกๆ วัน โดยผู้เข้ามาปฏิบัติฯ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น - เป็นสถานที่ฝึกอบรมพระสังฆาธิการสนองงานคณะสงฆ์ - เป็นสถานที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของบุคลากรจากหน่วยราชการต่างๆ ตลอดจนฝึกอบรมวิปัสสนากรรมฐานแก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป สามารถรองรับผู้เข้ามาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานได้ประมาณ 500รูป/คน โดยเป็นสถานที่ซึ่งมีผู้บริจาคเพื่อขยับขยายมาจากสำนักวิปัสสนากรรมฐานวิเวกอาศรม สถานที่ล้อมรอบด้วยทุ่งนาและธรรมชาติ มีกุฏิสงฆ์สร้างในแบบธรรมชาติมุงจาก
22. วัดเขาสุกิม 12 ต.เขาบายศรี อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี 22120 โทร. 089-931-5544, 081-456-8384 วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อสมชาย ฐิตวิริโย แนวการปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา "พุทโธ" วัดตั้งอยู่สูงขึ้นไปบนเชิงเขา กว้างขวางกว่า 3,280 ไร่ มีทางบันได และรถรางขึ้นไปบนวัด บริเวณร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่น้อย มีศาลาที่พักที่สะดวกสบาย เป็นห้องมุ้งลวด มีเตียง ที่นอนหมอนให้ หรือพักที่กุฏิว่างต่างๆ
23. วัดจันทาราม (วัดท่าซุง) 60 หมู่ที่ 1 บ้านท่าซุง ต.น้ำซึม อ.เมือง จ.อุทัยธานี 61000 โทร. (056) 511-366, (056) 511-391 วิปัสสนาจารย์ พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) แนวการปฏิบัติ มโนมยิทธิ บริกรรม "นะ มะ พะ ธะ" และสอนอนุสติ บริกรรม "พุทโธ"
24. วัดถ้ำผาปล่อง ต.บ้านถ้ำ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ 50170 วิปัสสนาจารย์ พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร) แนวการปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา "พุทโธ"สำนักสงฆ์แห่งนี้อยู่บนดอย ทางขึ้นลงเทปูนเป็นบันไดเดินได้สะดวกแต่ค่อนข้างสูง หลวงปู่เคยเล่าไว้ว่าที่ถ้ำผาปล่อง และถ้ำเชียงดาวนี้ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ให้สำรวมระวัง รักษาความสงบ ไม่ร้องรำทำเพลง เล่นตลกคะนอง เพราะเคยมีพระอรหันต์ตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้ากกุสันโธ พระอรหันต์สมัยพระพุทธเจ้าโกนาคม พระอรหันต์สมัยพระกัสสโป และพรอรหันต์สมัยพระพุทธโคดม มาบำเพ็ญเพียรและละสังขารอยู่หลายองค์ การนั่งภาวนาที่นี่จะทำเหมือนสมัยที่หลวงปู่ยังอยู่ คือ ท่านจะให้ทุกคนที่ไปภาวนานั่งสมาธิเพชรฟังเทศน์ ด้วยเหตุผลว่า "การนั่งสมาธิเพชรนั้นเป็นการฝึกฝนคนเราให้เกิดความตั้งใจมั่น"
25. วัดป่าสาลวัน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000 โทร. (044) 254-402, 081-967-1435 วิปัสสนาจารย์ พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) แนวการปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา "พุทโธ" วันที่ 1-5 ของทุกเดือน จะมีการอบรมการปฏิบัติแก่อุบาสกอุบาสิกา ที่ใต้ศาลา และบนวิหารชั้น 2 โดยจะมีพระให้การอบรม
26. วัดแดนสงบอาสภาราม 99 ซอย 19 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000 โทร. (044) 214-134, (044) 214-869-70 วิปัสสนาจารย์ พระครูภาวนาวิสิฐ (ศรีสิวรรณ สิริสุวณฺโณ) แนวการปฏิบัติ สติปัฏฐาน 4 ใช้คำบริกรรม "ยุบหนอ พองหนอ" วัดเป็นศูนย์วิปัสสนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการจัดโครงการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตลอดทั้งปี
27. วัดป่าวะภูแก้ว หมู่ที่ 11 บ้านวะภูแก้ว ต.มะเกลือใหม่ อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา 30170 โทร. (044) 249-045 วัดป่าวะภูแก้วเป็นวัดสาขาของวัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา วิปัสสนาจารย์ พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) แนวการปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา "พุทโธ"วัดอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ มีต้นไม้ใหญ่น้อยมาก สถานที่เงียบสงบ สวยงาม มีอาคารอบรมขนาดใหญ่ สำหรับผู้มาทำสมาธิเป็นหมู่คณะ
28. วัดหนองป่าพง 46 หมู่ 10 บ้านพงสว่าง ต.โนนผึ้ง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี 34190 โทร. (045) 322-729 วิปัสสนาจารย์ พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท) แนวการปฏิบัติ เน้นให้มีสติสม่ำเสมอ ฝึกสมาธิแบบอานาปานสติ
29. ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน 6 หมู่ที่ 25 บ้านเนินทาง ต.บ้านค้อ อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000โทร. (043) 237-786, (043) 127-790 เป็นสถานปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานสาขาของวัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี วิปัสสนาจารย์ พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) แนวการปฏิบัติ สติปัฏฐาน 4บริกรรม "ยุบหนอ พองหนอ" เช่นเดียวกับวัดอัมพวัน
30. วัดป่าวิเวกธรรมวิทยาราม (วัดป่าเหล่างา) 13 ถ.ศรีจันทร์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000 โทร. (043) 222-042 วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม และหลวงปู่บุญเพ็ง กปฺปโก แนวการปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา "พุทโธ"
31. วัดถ้ำผาบิ้ง บ้านนาแก ต.ผาบิ้ง อ.วังสะพุง จ.เลย 42130 วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่หลุย จันทสาโร แนวการปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา "พุทโธ" เมื่อไปถึงจะพบศาลาสร้างด้วยไม้ที่โปร่งสะอาดน่านั่งสมาธิ มีกุฏิหลายหลัง มีถ้ำอยู่ไม่สูงจากเชิงเขา มีบันได้ขึ้นสะดวก เป็นที่สงบวิเวกมาก เหมาะแก่การปฏิบัติอย่างอุกฤษฎ์ พระในสายพระอาจารย์มั่นมักมากจำพรรษา และปฏิบัติธรรมที่นี่ เพราะเป็นที่สัปปายะ บรรยากาศเงียบสงบ ห่างไกลจากตัวเมือง
32. วัดถ้ำกองเพล ต.โนนทัน อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู 39000 โทร. (042) 312-377วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่ขาว อนาลโย แนวการปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา "พุทโธ"เป็นวัดป่ากว้างขวาง พร้อมศาลาปฏิบัติธรรมสร้างภายในถ้ำ ทางไปถ้ำสะดวกอยู่ริมถนน รถเข้าถึงปากถ้ำได้ ไม่ต้องปีน บางกุฏิก็ซ่อนอยู่ตามเหลือบผาต่างๆ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม เมื่อไปถึงให้ติดต่อศาลาประชาสัมพันธ์เพื่อขออนุญาตก่อน ปฏิบัติธรรมอย่างเข้ม
33. วัดป่าบ้านตาด บ้านตาด ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000 วิปัสสนาจารย์ หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน แนวการปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา "พุทโธ" ในวัดมีกุฏิที่พักหลายกุฏิ มักจะมีลูกศิษย์มาอยู่ปฏิบัติกันมาก แต่ผู้มาปฏิบัติที่นี่ต้องกินน้อย นอนน้อย ปฏิบัติมาก กลางคืนมักจะเดินจงกรม นั่งสมาธิ จนดึก หรือโต้รุ่งก็มี ไม่ใช้ไฟฟ้าในตอนกลางคืน ผู้ปฏิบัติจึงควรจำไฟฉายหรือเทียนติดตัวไปด้วย เพื่อใช้ส่องทางเดิน ทางจงกรม ซึ่งมักจะเป็นทางดิน และอาจมีสัตว์ เช่น งู อยู่บ้าง ต้องเจริญเมตตาไม่เบียดเบียนต่อกัน
34. วัดหินหมากเป้ง หมู่ที่ 4 บ้านไทยเจริญ ต.พระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย 43130 โทร./โทรสาร (042) 421-409 วิปัสสนาจารย์ พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) แนวการปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา "พุทโธ" ในวัดมีกุฏิเรือนรับรองอยู่มาก บริเวณกว้างขวาง ประกอบด้วยป่าโปร่ง ป่าไผ่ ทะเลสาบใหญ่ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ร่มรื่น สงบเย็น เหมาะแก่การอยู่ปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง
35. วัดเจติยาคิรีวิหาร (วัดภูทอก) บ้านนาคำแคน ต.นาสะแบง อ.ศรีวิไล จ.หนองคาย 43210วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ แนวการปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา "พุทโธ" วัดตั้งอยู่บนภูทอก ทางขึ้นค่อนข้างชัน สร้างด้วยความอัศจรรย์และด้วยจิตที่เด็ดเดี่ยวของพระเณร ท่านพระอาจารย์จวนได้ทำทางขึ้นเป็นขั้นบันไดและทางเดินด้วยไม้รอบภูจนถึงยอด บริเวณหน้าผา ท่านใช้ไม้ 2 ลำมัดให้แน่นยื่นออกไป 4 เมตร เอาเชือกบังสุกุลผูกปลายไม้ที่ยื่นออกไป ตรึงใส่เสาที่ปักไว้ แล้วไปนั่งที่ปลายไม้นั้น เพื่อตอกหินเจาะหลุมที่หน้าผา ปรากฏว่า ถ้าให้ฆราวาสไปนั่งปลายไม้ครั้งใด ก็ไม่สามารถควบคุมสติสมาธิได้ เพราะมองไปข้างบ่างก็เกิดความหวั่นไหว จนไม่สามารถตอกหินได้สำเร็จ ผู้สร้างจึงเป็นพระและเณร สิ่งปลูกสร้างนี้มี 7 ชั้น มีกุฏิที่พักเชิงเขาที่ชั้น 2 หรือจะพักกุฏิว่างรอบเขาก็ได้ (ต้องขออนุญาตก่อน) เหมาะกับผู้ปฏิบัติที่ฝึกมาดีพอสมควร มีความเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ เนื่องจากเปลี่ยวและสูงอยู่บนภูเขา แต่บรรยากาศเย็นสบาย เงียบสงบ
36. วัดดอยธรรมเจดีย์ หมู่ที่ 3 บ้านนาสีนวล ต.ตองโขบ อ.ศรีสุพรรณ จ.สกลนคร 47280วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ และพระอาจารย์แบน ธนากโร แนวการปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา "พุทโธ" ปกติจะปฏิบัติธรรมที่ศาลา ส่วนที่พักมีกุฏิและอาคารซึ่งสะอาดทันสมัย วัดดอยธรรมเจดีย์ เป็น 1 ใน 4 วัดที่หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน กล่าวชมว่าเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งภาคปฏิบัติ เพราะข้อวัตรปฏิบัตรค่อนข้างเคร่งครัดตามแบบฉบับพระกรรมฐานสายนี้
37. วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม (วัดถ้ำพวง) ถนนรพช. หมู่ที่ 1 ต.ปทุมวาปี อ.ส่องดาว จ.สกลนคร 47190 โทร. (042) 722-002 วิปัสสนาจารย์ พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร (พระอาจารย์วัน อุตฺตโม)แนวการปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา "พุทโธ" ณ ที่วัดแห่งนี้มีหลายถ้ำ มีถ้ำหนึ่งชื่อถ้ำพวง ซึ่งหลวงปู่มั่นเคยเล่าให้ฟังว่า เป็นถ้ำที่ศักดิ์สิทธิ์มาก เคยมีพระอรหันต์ชื่อ พระนรสีห์ มานิพพานที่นี่
38. วัดป่าสุทธาวาส 1396 หมู่ที่ 10 บ้านคำสะอาด ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000 โทร. (042) 733-041, (042) 711-573 วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต แนวการปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา "พุทโธ" มีอาคารเป็นตึกปูน 3 ชั้นหลังใหญ่ จุคนได้หลายร้อยคน เย็นสบาย
39. วัดคำประมง 20 หมู่ที่ 4 บ้านคำประมง ต.สว่าง อ.พรรณนานิคม จ.สกลนคร 47130 โทร. 081-601-6960, 081-322-7107 โทรสาร (042) 779-276 วิปัสสนาจารย์ พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร) แนวการปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา "พุทโธ"เนื่องจากเป็นวัดที่มีพระจำพรรษาอยู่น้อยในฤดูนอกพรรษา จึงเงียบสงบ มีเจ้าหน้าที่ตัดหญ้า ปลูกดอกไม้สวยงามอย่างดี มีพระพุทธรูปปางต่างๆ และสิ่งก่อสร้างสวยงาม มีสระน้ำทะเลสาบใหญ่ ฝูงปลามากมาย มีนักท่องเที่ยวแวะเวียนเข้ามาเยี่ยมและให้อาหารปลาอยู่เสมอ
40. สำนักปฏิบัติธรรมศิริธรรม (ถ้ำชี) เขากิ่ว ต.ไร้ส้ม อ.เมือง จ.เพชรบุรี 76000 โทร. (032) 428-522 วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อกนฺตสิริ (กนฺตสิริ ภิกฺขุ) แนวการปฏิบัติ สติปัฏฐาน 4 และอานาปานสติ เขากิ่วเป็นภูเขาเตี้ยๆ มีต้นไม้หนาแน่นมาก อยู่ใกล้เมือง เดินทางสะดวก บนเขามีลิงอยู่บ้าง แต่ไม่ทำร้ายคน บนสำนักฯ มีเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ศาลา ถ้ำชี ซึ่งใช้เป็นอุโบสถ กุฏิที่พัก ห้องน้ำ-ส้วม พอสะดวกสบายแก่การปฏิบัติ ที่นี่เน้นการปฏิบัติเคร่งครัด กินน้อย พูดน้อย นอนน้อย ปฏิบัติมาก
41. เสถียรธรรมสถาน 24/5 หมู่ที่ 8 ซ.วัชรพล (ถ.รามอินทรา 55) แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10230 โทร. 02-510-6697, 02- 510-4756 โทรสาร o2-519-4633 วิปัสสนาจารย์ แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต แนวการปฏิบัติ สติปัฏฐาน 4 และอานาปานสติภาวนา ชุมชนแห่งการเรียนรู้ โอเอซิสธรรมกลางกรุง เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมที่ร่มรื่น สงบเงียบ สงบเย็น ตั้งอยู่ใจกลางของกรุงเทพมหานคร สาธุชนทุกท่านสามารถ เข้าไปปฏิบัติธรรมได้ ถือได้ว่าเป็นธรรมสถานแห่งการฝึกฝนเรียนรู้ ที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับแม่ชี และผู้ปฏิบัติธรรมที่เป็นผู้หญิง
42. บ้านซอยสายลม 9 ถ.พหลโยธิน ซอย 8 ซอยสายลม (ระหว่างตึกชินวัตร 1 และตึกพหลโยธินเพส) แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร. 02-616-7177, 02-272-6759 วิปัสสนาจารย์ พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) แนวการปฏิบัติ มโนมยิทธิ บริกรรม "นะ มะ พะ ธะ" และสอนอนุสติ บริกรรม "พุทโธ"
43. วัดพิชยญาติการาม 685 ถ.ประชาธิปก แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กทม. 10600 โทร. 02-861-4319, 02-438-4442 วิปัสสนาจารย์ พระธรรมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม) และแม่ชีทศพร เทวาพิทักษ์ธรรม แนวการปฏิบัติ สติปัฏฐาน 4 อานาปานสติภาวนา มีการปฏิบัติธรรม อบรมกรรมฐาน และดูกฎแห่งกรรม ทุกวันเสาร์-อาทิตย์
44. วัดผาณิตาราม ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ วัดผาณิตาราม อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา 24000 โทร. (038) 502-000, (038) 502-087-8 วิปัสสนาจารย์ คุณแม่สิริ กรินชัย แนวการปฏิบัติ แนวสติปัฏฐาน 4 เจริญสติอย่างต่อเนื่อง ตามแนวพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ มีการจัดอบรมวิปัสสนากรรมฐานสำหรับเยาวชน และบุคคลทั่วไป สถานที่ร่มรื่น สงบเย็น สัปปายะดีมาก ที่พักสะอาด สะดวก ปลอดภัยดีมาก และที่ปฏิบัติมีเครื่องปรับอากาศ โดยทั่วไปการอบรมใช้เวลา 8 วัน 7 คืน
45. วัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์) 62/1 หมู่ที่ 5 บ้านเขาวง ต.เขาวง อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี 18120 โทร. (036) 236-500-5, 086-133-6889, 084-310-9442 วิปัสสนาจารย์ พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) แนวการปฏิบัติ มโนมยิทธิ บริกรรม "นะ มะ พะ ธะ" และสอนอนุสติ บริกรรม "พุทโธ" รับผู้เข้าพักปฏิบัติธรรมตลอดทั้งปี ตามระเบียบและจารีตของสำนัก
46. วัดสังฆทาน 100/1 หมู่ที่ 3 บ้านบางไผ่น้อย ต.บางไผ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทร. 02-447-0799, 02-447-0800 วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อสังวาลย์ เขมโก และหลวงพ่อสนอง กตปุญโญ แนวการปฏิบัติ สติปัฏฐาน 4 อานาปานสติภาวนา มีการจัดบวชเนกขัมมปฏิบัติทุกวัน ทั้งบวชคนเดียวและบวชหมู่
47. ศูนย์วิปัสสนาตามแนวทางอาจารย์โกเอ็นก้า ประเทศไทยมีศูนย์วิปัสสนาตามแนวทางของท่านอาจารย์โกเอ็นก้า รวมทั้งหมด 5 ศูนย์ อยู่ในความดูแลของสำนักงานมูลนิธิส่งเสริมวิปัสสนากรรมฐาน ในพระสังฆราชูปถัมภ์
(47.1) ศูนย์วิปัสสนาธรรมกมลา กม. 166+900 ทางหลวงหมายเลข 33 (สุวรรณศร) 200 บ้านเนินผาสุก ต.ดงขี้เหล็ก อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี 25000 โทร. (037) 403-185, 089-782-9180
(47.2) ศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา กม. 49+400 ทางหลวงหมายเลข 12 (พิษณุโลก-หล่มสัก) 138 แยกเข้าบ้านห้วยพลู ต.แก่งโสภา อ.วังทอง จ.พิษณุโลก 65220 โทร. (055) 268-049, 081-605-5576, 086-440-3463
(47.3) ศูนย์วิปัสสนาธรรมสุวรรณา 112 หมู่ที่ 1 ต.บ้านกง อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น 40240 โทร. 086-713-5617, 084-796-6069
(47.4) ศูนย์วิปัสสนาธรรมกาญจนา 20/6 หมู่ที่ 2 บ้านวังขยาย ต.ปรังเผล อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี 71240 โทร. (034) 531-209, 081-811-6447, 081-811-6196
(47.5) ศูนย์วิปัสสนาธรรมธานี 42/660 หมู่บ้านเค.ซี. การ์เด้นโฮม ถ.นิมิตใหม่ แขวงสามวาตะวันออก เขตคลองสามวา กรุงเทพฯ 10510 โทร.02-993-2711, 02-993-2700, 081-843-6467 วิปัสสนาจารย์ ท่านอาจารย์สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า (S.N. Goenka) แนวการปฏิบัติ สติปัฏฐาน 4 และอานาปานสติภาวนา
มีการจัดการอบรมวิปัสสนา (หลักสูตรสติปัฏฐาน) หลักสูตร 10 วัน สำหรับพระภิกษุ สามเณร และฆาราวาสทั่วไป รวมทั้งเด็กและเยาวชน เริ่มต้นในเย็นวันแรก และสิ้นสุดในตอนเช้าของวันสุดท้าย ตลอดทั้งปี
48. มูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต 549/94 ซ.ยิ่งอำนวย (จรัญสนิทวงศ์ 37) ถ.จรัญสนิทวงศ์ แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 โทร. 02-412-2752วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต แนวการปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา "พุทโธ" มีการจัดกิจกรรมทุกเดือน ทำบุญตักบาตร ฟังธรรม นั่งสมาธิภาวนา เดินจงกรม และปฏิบัติจิตภาวนา นำพาโดยครูบาอาจารย์พระวิปัสสนาจารย์สายหลวงปู่มั่น ตั้งแต่เวลา 07.00-11.30 น. ซึ่งในแต่ละครั้งนั้นจะมีพระภิกษุมาหลายองค์
49. วัดชลประทานรังสฤษฎ์ 78/8 หมู่ที่ 1 ก.ม.14 ถ.ติวานนท์ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 โทร. 02-538-8845, 02-584-3074 วิปัสสนาจารย์ พระพรหมมังคลาจารย์ (หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ) แนวการปฏิบัติ แนวอานาปานสติภาวนา ทุกวันอาทิตย์สาธุชนจะมาทำบุญใส่บาตร ฟังเทศน์ฟังธรรมกันเป็นจำนวนมาก
50. วัดเขาพุทธโคดม ศาลาธรรมสันติ 42/2 หมู่ที่ 4 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110 โทร. (038) 772-132, (038) 772-944, (038) 312-608 วิปัสสนาจารย์ คุณแม่สิริ กรินชัยแนวการปฏิบัติ แนวสติปัฏฐาน 4 เจริญสติอย่างต่อเนื่อง ตามแนวพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ทางวัดได้จัดเครื่องนอน พร้อมอาหารเลี้ยงฟรี เป็นมังสวิรัติแต่รสชาติดี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ผู้ใดมีปัญหาสุขภาพรับศีล 8 ไม่ได้ ก็ขอให้รับศีล 5 แทน จะมีการตระเตรียมอาหารเย็นไว้ให้ ห้ามบอกบุญเรี่ยไรใดๆ ทั้งสิ้น หากจะทำบุญขอให้ไปที่กุฏิธุรการเท่านั้น รวมทั้งห้ามทรงเจ้าเข้าผี ตลอดจนขอให้มีสัมมาวาจา งดพูดมาก
51. วัดบูรพาราม ถ.กรุงศรีใน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ 32000 โทร. (044) 514-234วิปัสสนาจารย์ พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) แนวการปฏิบัติ แนวดูจิต ตามหลักสติปัฎฐาน 4 วัดตั้งอยู่ใจกลางเมืองสุรินทร์ หน้าศาลากลางจังหวัด แต่สงบเงียบ สงบเย็น สัปปายะ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม วัดบูรพารามเป็นวัดธรรมยุตแห่งแรกในจังหวัดสุรินทร์ หลวงปู่ดุลย์ อตุโล ท่านมีความรู้ลึกซึ้งในเรื่องของจิต จนกระทั่งได้รับสมญาว่าเป็น "บิดาแห่งการภาวนาจิต"
52. วัดไตรสิกขาทลามลตาราม และวัดนิพเพธพลาราม บ้านฝาง ต.บ้านแพด อ.คำตากล้า จ.สกลนคร 47250 โทร. 081-872-8433, 081-320-7862, 081-871-9845 วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ แนวการปฏิบัติ เจริญอานาปานสติกรรมฐาน วัดนิพเพธพลาราม ตั้งอยู่ห่างจากวัดไตรสิกขาฯ ประมาณ 10 กิโลเมตร ทางวัดมีการจัดปฏิบัติธรรมเนื่องในโอกาสสำคัญ เช่น - งานเสขปฏิปทา เป็นงานปฏิบัติธรรมประจำปี - วิสาขบูชามหาพุทธชยันตี งานวันนัดพบผู้ใฝ่ธรรม ฯลฯ ซึ่งจะมีพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา จากทั่วทุกสานุทิศ เดินทางมาปฏิบัติธรรม เจริญจิตตภาวนา เป็นจำนวนมาก
53. วัดปัญญานันทาราม 1 หมู่ที่ 10 ต.คลองหก อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12121 โทร. 02-904-6101-2, 02-904-6107 โทรสาร 02-904-6065 วิปัสสนาจารย์ พระพรหมมังคลาจารย์ (หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ) และพระปัญญานันทมุนี (พระมหาสง่า สุภโร) แนวการปฏิบัติ แนวอานาปานสติภาวนา วัดปัญญานันทาราม มีโครงการสําหรับสาธุชนทั่วไปมากมาย เช่น - โครงการเพิ่มโอกาสบวชธรรมจาริณี - โครงการสืบสานวัฒนธรรมรักษาอุโบสถ (วันพระ) - โครงการชีวิตใหม่ (บําเพ็ญบารมีวันอาทิตย์) - โครงการสร้างความสุขด้วยการบําเพ็ญบุญ (วันสําคัญต่างๆ) - โครงการวิปัสสนาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ฯลฯ
54. ศูนย์ศึกษาปฏิบัติธรรม ?สวนสันติธรรม? บ้านโค้งดารา ต.หนองขาม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110 (สาขาของวัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์) โทร. 081-915-7300, 081-557-9878วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช แนวการปฏิบัติ แนวดูจิต ตามหลักสติปัฎฐาน 4บรรยากาศภายในสวนสันติธรรมสงบเย็น ร่มรื่น สัปปายะ ควรไปถึงวัดก่อนเวลา 08.00 น. เพราะเป็นเวลาที่พระฉัน จะมีการสอบถามถึงผลและปัญหาในการปฏิบัติธรรมตามหลักสติปัฎฐาน 4 ตลอดจน รายงานผลการปฏิบัติของแต่ละคน ซึ่งเรียกว่า "ส่งการบ้าน" ไม่มีการแจกวัตถุมงคล ไม่มีการรดน้ำมนต์
55. วัดป่าสุคะโต สถาบันสติปัฏฐาน หมู่ที่ 8 บ้านใหม่ไทยเจริญ ต.ท่ามะไฟหวาน อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ 36150 โทร. 085-492-7709, 087-957-1684 วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ และหลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ แนวการปฏิบัติ เน้นการเจริญสติรู้การเคลื่อนไหวของกาย ตามหลักสติปัฏฐาน 4 วิธีที่เป็นที่นิยมคือวิธีสร้างจังหวะ เป็นวิธีสร้างสติแบบนั่งทำสมาธิแต่ไม่ต้องหลับตา มีการจัดอบรมเจริญสติภาวนา (หลักสูตร 7 วัน) เป็นประจำทุกเดือน
56. สำนักปฏิบัติธรรมแดนมหามงคล (เกาะมหามงคล) สถาบันพัฒนาจิตบวชใจนานาชาติเพื่อสันติภาพ 149 หมู่ที่ 1 บ้านช่องแคบ ก่อนถึงน้ำตกไทรโยคน้อย ต.วังกระแจะ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี 71150 โทร. 081-862-1757 วิปัสสนาจารย์ อุบาสิกาบงกช สิทธิผล แนวการปฏิบัติ สติปัฏฐาน 4 และอานาปานสติภาวนา สถานที่ของสำนักฯ มีความสัปปายะ สงบเงียบ ร่มรื่น งดงาม อากาศเย็น รอบล้อมด้วยต้นไม้ ป่า และภูเขา เหมาะแก่การปฏิบัติภาวนาเป็นยิ่งนัก ถือได้ว่าเป็นธรรมสถานแห่งการฝึกฝนเรียนรู้ ที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับแม่ชี และผู้ปฏิบัติธรรมที่เป็นผู้หญิง มีอาหารมังสวิรัติให้รับประทานตอนมื้อเที่ยงทุกวัน สถานที่พักแยกชาย-หญิงชัดเจน เจ้าหน้าที่ทุกคนมีมิตรภาพมาก
ขอคอบคุณข้อมูล/ผู้โพส http://www.siamrath.co.th/web/
57.วัดป่าเจริญราช แห่งที่ 13 อยู่ใกล้แค่นี้เอง เลขที่-ซอย-ถนน: ๑๒/๑๙ คลอง ๑๑ (สายกลาง)
ตำบล: บึงทองหลาง อำเภอ: ลำลูกกาจังหวัด: ปทุมธานี รหัสไปรณีย์: ๑๒๑๕๐
โทร.: ๐๒-๙๙๕-๒๑๑๒ โทรสาร ๐๒-๙๙๕-๒๔๗๗
28 June 2013
The Second Sense
All about me by The Second Sense
ฉันพยายามให้ความคิดอยู่กับความว่างเปล่า เพียงเพราะเพื่อให้จิตใจสงบ ภายใต้
ความเมตตาและความโอบอ้อมอารีที่ฉันมี
ฉันเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ดี และยอมรับมันได้ แม้บางคนเข้าใจดีแต่บางคนจะไม่เข้าใจก็ตาม
ต่างมุมมอง แต่ก็จะอยู่แค่กับความดีและความเลว
เมื่อผ่านวันเวลาที่ปะปน เปลี่ยนแปลง มากมายหลายฤดู กับมามองเพียงเพื่อรอวันใหม่มาเสมอ นี่คือชีวิต
หากแต่จะเหลือซักกี่วันที่ยังมีลมหายใจอยู่ ไม่มีใครรู้ชะตาชีวิต
เคยได้ยินเรื่องกฎการสะท้อนกันไหม แต่ต้องขออภัยที่จำไม่ได้ว่าจากที่ไหน ฉันชอบมากเลย ‘’ลองคิดเล่นๆดูนะ ”
หากเรากำลังด่าคนนั้นอยู่ไม่นานคนนั้นก็จะด่าเรา หากเราทำใครเจ็บปวดซักวันเราก็จะเจ็บปวดเพราะใครคนนั้น
หากเราให้สร้างความทุกข์ให้แก่ใคร เราก็อยู่กับความทุกข์นั้นด้วย บ้างทีเราล้อเล่นกับชีวิตชีวิตก็กำลังล้อเล่นกับเรา
และหากเราไปทำร้ายคนอื่นล่ะ ไม่รู้ล่ะยังไงเราก็ต้องเจอคนอื่นทำร้ายเราแน่นอน
เท่าที่สัมผัสมามันเป็นเรื่องจริง ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
รู้อย่างนี้แล้วสั่งจิตตัวเองเลยว่า “ถ้าเป็นไปได้อย่าได้เบียดเบียนผู้ใดเลย”
''ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อใครในทางลบ หากแต่ให้ผู้เข้ามาชมบล็อกได้ประโยชน์ไม่มากก็น้อยตามแต่ใจ
อาจมีผิดบ้างถูกบ้างตามแต่ทัศนคติแต่ละคนจะวิจารณ์ ทั้งภาษาเขียนและภาษาแปลเป็นอังกฤษ
ขอคอบคุณทุกข้อมูลจากทุกเวปไซร์ ที่นำมาเผยแพร่สิ่งดีๆ ครบ
หากผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ. โอกาส นี้ค่ะ''
I tried to think about nothing. Just because the mind is calm under Kindness and helpful as I have. I understand human nature better.
To accept it. Even some well understood,
but some people will not understand them.
It is just a different perspective on the good and the bad.
After several days of mixed seasonal changes.
Just waiting for the day to come look at it, this is life.
If a few days, but the rest is still breathing.
Fate is not known.
Ever heard of the law of reflection together.
Unfortunately, I can not remember where it was,
'' I think about it. "
If we know someone is not a man was to curse us.
If we do not hurt me because we will hurt someone else.
If we create suffering for anyone.
We are suffering as well.
Some of us were messing with his life, teasing us.
And if we do not like to hurt other people, we also need to see other people hurt us, of course.
I felt it was true. That can not be avoided.
Knew this when I ordered it myself.
"If possible, do not hurting anyone."
''Not aimed at anyone in a negative way. But the entrance was blogs by a few rebels.
I may be wrong, but each to their critics. Both written and translated into English language.
You get all the information from all website. To be published every thing.
Sorry if any error comes at the opportunity here.''
I may be wrong, but each to their critics. Both written and translated into English language.
You get all the information from all website. To be published every thing.
Sorry if any error comes at the opportunity here.''
23 June 2013
Recommend a good web.
http://www.budsir.org
http://www.9pha.com/
http://www.dhammathai.org
http://www.cdthamma.com/
http://www.dhammajak.net
http://www.larnbuddhism.com/
http://www.phrathai.net
http://rabob.tripod.com/
www.inwza.com
www.dhammatoday.com/
www.mindcyber.com
www.fungdham.com
www.thammaonline.com
www.dmc.tv
www.dharmamag.com
www.thammapedia.com/
www.dhammahome.com
www.dharmatv.org/
thamma-bansabaijai.org/
www.dhamma5minutes.com/
www.dlitemag.com
22 June 2013
Good stories for you.
กาลามสูตร คือ พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตติยนิคม แคว้นโกศล (เรียกอีกอย่างว่า เกสปุตติยสูตร หรือเกสปุตตสูตร ก็มี[1]) กาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนเชื่อ มีอยู่ 10 ประการ ได้แก่
1. มา อนุสฺสวเนน - อย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังตามกันมา
2. มา ปรมฺปราย - อย่าเพิ่งเชื่อโดยถือว่าเป็นของเก่าเล่าสืบๆ กันมา
3. มา อิติกิราย - อย่าเพิ่งเชื่อเพราะข่าวเล่าลือ
4. มา ปิฏกสมฺปทาเนน - อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างคัมภีร์หรือตำรา
5. มา ตกฺกเหตุ - อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดเดาเอาเอง
6. มา นยเหตุ - อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดคาดคะเนอนุมานเอา
7. มา อาการปริวิตกฺเกน - อย่าเพิ่งเชื่อโดยตรึกเอาตามอาการที่ปรากฏ
8. มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา - อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเห็นว่าต้องกับความเห็นของตน
9. มา ภพฺพรูปตา - อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดควรเชื่อได้
10. มา สมโณ โน ครูติ - อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดนั้นเป็นครูของเรา
http://www.wikipedia.org/
To focus blame on others is the nature of the non-graduates.
The focus, however, blame others. Not focus blame on themselves.
I do not see a penalty of their own.
Shall not be impaired. To be improved.
I do not know how much blame in any sense. No chance to fix themselves.
But to focus on others.
Which would not be helpful to him in any way ..
การเพ่งโทษผู้อื่นเป็นวิสัยของผู้ไม่ใช่บัณฑิต
ผู้ที่เพ่งแต่โทษผู้อื่น ไม่เพ่งโทษตนเอง
ย่อมไม่เห็นโทษของตนเอง
ย่อมไม่เห็นความบกพร่อง ที่จะต้องแก้ไขให้ดีขึ้น
ย่อมไม่รู้ว่ามีโทษเพียงไรในแง่ใด ไม่มีโอกาสจะแก้ไขตนเอง
แต่จะมุ่งไปแก้ผู้อื่น
ซึ่งจะไม่เป็นประโยชน์แก่ตนอย่างใด ..
การให้ธรรม ชนะการให้ทั้งปวง
สมเด็จพระญาณสังวรฯ
http://www.dhammathai.org
If you act against society. ...........The Way of the fall to come.
If you work partiality. ................You will find the problem continues.
If you are being greedy. ..............You do not expect it from friends.
If you are too scared. ................You do not have to.
If you dare to overuse. ............You will find trouble.
If you lack it. .......You will owe him forever.
If you wish, but fun.......... You would suffer enormously.
If you lack a second thought. ...........My whole life would be meaningless.
If you are calm. .........You will find happiness that bleak.
ถ้าท่านทำตัวแข่งกับสังคม ทางแห่งความล่มจมกำลังตามมา
ถ้าท่านทำงานเห็นแก่หน้า ท่านจะพบกับปัญหาเรื่อยไป
ถ้าท่านทำตัวเห็นแก่ได้ ท่านอย่าหวังน้ำใจจากเพื่อนฝูง
ถ้าท่านกลัวจนเกินไป ท่านจะทำอะไรไม่ได้ความ
ถ้าท่านกล้าจนเกินงาม ท่านจะพบกับความเดือดร้อน
ถ้าท่านขาดความพอดี ท่านจะเป็นหนี้เขาตลอดกาล
ถ้าท่านหวังแต่ความสนุก ท่านจะเป็นทุกข์มหาศาล
ถ้าท่านขาดความยั้งคิด ชีวิตทั้งชีวิตจะหมดความหมาย
ถ้าท่านทำใจให้สงบ ท่านจะพบกับความสุขที่เยือกเย็น
Spending the time to live.
Think because the mind is the source of power.
Sport because young people forever.
Read because intelligence.
Praye Because r creates a strong mental powers.
Love life is precious.
Laugh because laughter is the music. the aesthetic of the mind.
Friendly For friendship is warm and beautiful.
Do charitable deeds to good deeds because life.
Complete cause because pride of self-worth.
gratitude It is a mark of good.
การใช้เวลาเพื่อชีวิต
คิด.....เพราะความคิดเป็นบ่อเกิดแห่งพลัง
เล่นกีฬา ......เพราะทำให้เป็นคนหนุ่มสาวตลอดกาล
อ่าน......เพราะทำให้ฉลาดรอบรู้
สวดมนต์.......เพราะเป็นการสร้างพลังจิตให้เข้มแข็ง
รัก........เพราะความรักทำให้ชีวิตมีค่า
หัวเราะ..........เพราะเสียงหัวเราะคือดนตรีที่จะให้ความสุนทรีย์แห่งจิตใจ
เป็นมิตร..........เพราะมิตรภาพคือความอบอุ่นและสวยงาม
ทำกุศล...........เพราะผลบุญเป็นกรรมดีแห่งชีวิต
ทำงานให้เสร็จ...........เพราะทำให้เกิดความภาคภูมิใจในคุณค่าของตนเอง
กตัญญู.........เพราะเป็นเครื่องหมายของคนดี
..............................................................................